ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 213
๖๕
โอวาท พระภาวนาโกศลเถร (สด จนฺทสโร)
๑๘ ตุลาคม ๒๔๙๘
ภิกษุสามเณร เมื่อบวชเข้ามาในพระธรรมวินัยของพระศาสดาแล้ว “ควรประพฤติธรรม ให้
สมควรแก่ธรรม” เรียกว่า “ธมฺมานุธมฺมปฏิปันโน” เมื่อประพฤติแล้วต้องทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จึงได้ชื่อ
ว่า “สามีจิปฏิปนฺโน” โดยไม่เคลื่อนจากธรรมเลย เรียกว่า “อนุธมฺมจารี”
ภิกษุสามเณรนั้น จึงจะได้ชื่อว่า เคารพนับถือ บูชาตถาคต ด้วยปฏิบัติบูชาเป็นอย่างยิ่ง
ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นเป็นอย่างไร ?
วาจา ใจ
๑.
ภิกษุสามเณรพึงประพฤติให้ถูกรอยของศีลที่ตนมี ให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ทำชั่วด้วยกาย
๒. ภิกษุสามเณรพึงประพฤติให้ถูกรอยของสมาธิ
สมาธิ เป็นตัวทำให้ใจสงบ สละเสียจากอารมณ์ จนกระทั่งใจหยุด ถึงซึ่งความเป็นเอกัคคตาจิต
เมื่อบริสุทธิ์เช่นนี้ ก็ทำให้สูงยิ่งขึ้น จนเกิด “ปฐมฌาน” ใจสงัดจากกาม จากอกุศล
ขึ้นสู่ “ปฐมฌาน” ต่อไปถึงทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน บรรลุถึงขั้นนี้เป็น “สมาธิขั้นสูง”
เมื่อเข้าถึงฌาน ต้องใช้ “ปัญญา” พิจารณากายทั้ง ๘ กาย ในภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ
อรูปภพ ได้แก่ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหม
ละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด รู้จักความจริงของเบญจขันธ์ คือรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เรียก “ปัญญา”
การเข้าถึงกายต่าง ๆ นั้น ต้องตั้งมั่นอยู่ในธรรมให้มั่นคง เข้าถึงดวงธรรม ดวงศีล ดวงสมาธิ
ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ตั้งแต่กายมนุษย์จนถึงกายอรูปพรหมละเอียด ยังไม่มี
ญาณ มีแต่ “ดวงวิญญาณ” พอถึงกายธรรม ตาธรรมกายก็เห็นทั้ง ๔ กาย เห็นด้วยตาธรรมกาย
รู้ด้วยญาณของธรรมกาย
ญาณ แปลว่า “รู้” ดวงวิญญาณ ก็แปลว่า “รู้” แต่รู้ต่างกัน
ธรรมที่เรียกว่า “ดวงวิญญาณ” เล็กเท่าดวงตาดำ ใสเกินใส บริสุทธิ์สนิทอยู่ในกลาง “ดวง
จิต” ส่วนดวงจิตมีเนื้อหัวใจเป็นที่อยู่ อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงจิตอยู่ไหน ดวงวิญญาณก็
อยู่ที่นั่น ในกลางดวงจิตนั้น
ตามากระทบรูปก็รู้
หูกระทบเสียง
ดวงวิญญาณรู้
ดวงวิญญาณรู้
กลิ่นกระทบจมูก ดวงวิญญาณรู้