สาระสำคัญพระธรรมเทศนาเรื่องการไม่เบียดเบียน ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๕๙-๖๙ หน้า 33
หน้าที่ 33 / 43

สรุปเนื้อหา

พระธรรมเทศนานี้เน้นการไม่เบียดเบียนทั้งกาย วาจา และใจ การกระทำที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนถือเป็นหลักการสำคัญของสมณะ พระพุทธเจ้าได้สอนพระราหุลเกี่ยวกับการคิดและพูดว่า ต้องตรองถึงผลที่เกิดขึ้นก่อนทำ การฝึกฝนตนในด้านศีล สมาธิ และปัญญาจะนำไปสู่การพัฒนาจิตใจและเข้าถึงความสงบ โดยพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระปรมัตถปิฎกเป็นตัวแทนของคำสอนที่ช่วยให้เราเดินในแนวทางที่ถูกต้องและไม่เบียดเบียนผู้อื่น.

หัวข้อประเด็น

-การไม่เบียดเบียน
-ศีล สมาธิ ปัญญา
-หลักการพระพุทธศาสนา
-การตรองก่อนการกระทำ
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

228 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา “จะพูดสิ่งใดด้วยวาจา ใช้เหล็กแหลมอยู่ข้างใน เอาเสียงเอาปากนั่นที่ม แทง เอาเสียงนั้นเอาปากนั้นแทง แทงเขาแล้วก็พูดเสียดแทงเขา พูดเสียด แทงเขา พูดกระทบกระเทียบเขา พูดเปรียบเปรยเขาต่างๆ นานา ให้เขาเดือด ร้อนใจ ก็ได้ ชื่อว่าเบียดเบียนเขา เบียดเบียนเขาเป็นสมณะไม่ได้ ใช้ไม่ได้” การเบียดเบียนด้วยใจ เช่น คิดเบียดเบียนเขาให้เดือดร้อน สมณะจึงเป็นผู้ที่สงบแล้วทั้งกายวาจาและใจ พระพุทธเจ้ารับสั่งกับพระราหุลว่า ถ้าจะทำสิ่งใดด้วยกาย ให้เอาปัญญาสอดส่องก่อนว่า ถ้า ร้อนเราอย่าทำ ร้อนเขาอย่าทำ ร้อนทั้งเขาทั้งเราอย่าทำ ถ้าไม่ร้อนแล้วก็ทำเถิด จะคิดจะพูดสิ่งใดด้วย วาจาก็เช่นกัน ให้ตรองเช่นนี้เสียก่อน “เราอยากเป็นลูกพระตถาคตเจ้าแล้วละก็ ต้องเดินแบบอย่างนี้ทั้งกาย ทั้ง วาจา ทั้งใจ อย่างนี้ไม่ให้เบียดเบียนใครผู้ใดผู้หนึ่ง ให้บริสุทธิ์ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ” คาถาที่ ๒ สพฺพปาปสฺส อกรณ์ ฯ ไม่ทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ (เป็น “พระวินัยปิฎก” ได้แก่ ศีล) กุสลสฺสูปสมฺปทา ฯ ทำดีทั้งกาย วาจา ใจ (เป็น “พระสุตตันตปิฎก” ได้แก่ สมาธิ) สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้ผ่องใส (เป็น “ปรมัตถปิฎก” ได้แก่ ปัญญา ) พระวินัยปิฎก มี ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวัคค์ จุลลวัคค์ บริวาร พระสุตตันตปิฎก มี ๕ คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย พระปรมัตถปิฎก มี ๗ คัมภีร์ คือ สังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก มหาปัฏฐาน ยกทั้ง ๓ ปิฎกนี้ เป็นตัวพระพุทธศาสนา มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทั้งหมดนี้ “อยู่กับใจของตัวเองในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ เป็นศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง” “วัดปากน้ำสอนให้เดินในศีล สมาธิ ปัญญา นี่เสมอ ไม่ได้ไปทางอื่นเลย เมื่อ เดินไปในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด เข้าไป ในทางศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเข้าไปถึงกายทิพย์ ต้องเข้าไปในดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะไป ถ้าเข้าไปในกายทิพย์ละเอียด ก็ต้องเดินไปในดวงศีล...ของกายทิพย์หยาบเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าไปถึง กายอรูปพรหมก็แบบเดียวกัน เดินไปอย่างนี้ นี้ไม่ได้เคลื่อนคลาดละ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More