พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) - ความรู้เรื่องศีลและความเลื่อมใส ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๕๙-๖๙ หน้า 10
หน้าที่ 10 / 43

สรุปเนื้อหา

บทเรียนจากพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของศีลของบุคคลที่ดีงาม และความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ทำให้เกิดการมีจิตสำนึกที่ดีในส่วนรวม เมื่อใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางทำให้กายวาจาใจอยู่ในกรอบศีล เมื่อถึงขั้นสูงขึ้น เห็นศีลอันดีจะมีทางไปสู่วิมุตติ การมีสมาธิและปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติตามความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า และการเรียนรู้จากมรรคผลของพระอรหันต์ เพื่อให้ถึงธรรมกายดังที่ท่านได้แนะนำ ผ่านการปฏิบัติร่วมกันอย่างมีคุณธรรมในหมู่ของพระสงฆ์ การเลื่อมใสจะทำให้ร่างกายสะอาดและมีความแข็งแรงในความดี ความเลื่อมใสนี้กลายเป็นสิ่งที่เชื่อมโยง ช่วยให้ประสบผลสำเร็จในทางธรรม

หัวข้อประเด็น

-ศีลของบุคคลที่ดีงาม
-ความเลื่อมใสในพระสงฆ์
-การปฏิบัติตามความเชื่อมั่น
-ธรรมกายและการเชื่อมโยงในหมู่พระสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 205 ทำไมโกงตัวเองเล่า มันขี้เกียจทำ ทำเข้าเมื่อยขบเล็กๆ น้อยๆ ขี้เกียจเสีย แล้ว หยุดเสียแล้ว ไม่ทำแล้ว ทำก็เห็นลางๆ ไรๆ เอ้าปล่อยเสียแล้ว ไม่ทำเสีย แล้ว ไปไถลท่าอื่นเสียแล้ว ใจไปจรดที่อื่นเสียแล้ว ไปจรดอะไรเล่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ปัจจุบันบ้าง อดีตบ้าง อนาคตบ้าง” ๒. ศีลของบุคคลใดอันดีงาม อันพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว รักใคร่ ศีลของผู้มีใจหยุด เป็นกัลยาณศีล เป็นอริยกันตศีล ปสังสิตศีล คือศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้า “ศีล” แปลว่า ปรกติ คือ ปรกติทั้งกายวาจาใจ ด้วยการทำใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่อใจหยุด กายวาจาใจ ก็อยู่ในกรอบของศีล ไม่ละเมิดศีล เป็นศีลขั้นสามัญ “ศีลของกายมนุษย์ละเอียดไว้ใจไม่ได้นัก ยังลอกแลกอยู่ ไม่มั่นคง ได้ชื่อว่าเป็นศีลสามัญ เมื่อเห็นศีล คือ เห็นดวงศีล เห็นหมดทั้ง ๗ กาย เป็น “ศีลวิสามัญ” หรือ “กัลยาณศีล” หรือ “อริยกันตศีล” เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เข้าถึงธรรมกายได้ด้วยวิธีนี้ พอถึงธรรมกาย ก็มีศีลของธรรมกาย “เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว....ใจของผู้เห็นก็ติดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลนั่น ไม่คลาด เคลื่อนทีเดียว เมื่อติดดวงศีลได้ ดวงสมาธิไม่ต้องไปไหน อยู่ในกลางดวงศีล ดวงปัญญา ก็อยู่กลางดวงสมาธิ ดวงวิมุตติไม่ต้องไปไหน อยู่กลางดวงปัญญา ดวง วิมุตติญาณทัสสนะไม่ต้องไปไหน อยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าทางไปของพระอริยเจ้า พระอรหันต์" ๓. ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ “สงโฆ” แปลว่า หมู่ “ความเลื่อมใส” คือ ความผ่องใส ปลาบปลื้มเอิบอิ่มตื้นเต็มในใจ “เลื่อมใสนี่แหละทำร่างกายให้สะอาดสะอ้าน ทำร่างกายให้สละสลวย ให้งดงาม เพราะความเลื่อมใสอันนี้ เลื่อมใสเต็มที่ก็เหาะเหินเดินอากาศไปได้” เลื่อมใสในหมู่อย่างไร ? คือ การประพฤติธรรม มีศีล สมาธิ ปัญญาร่วมกัน อยู่ที่ไหนก็รักใคร่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ขาดตกบกพร่อง ทำสิ่งใดก็ทำพร้อมๆ กัน เลิกสิ่งใดก็เลิกพร้อมกัน ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ ซึ่งกัน และกัน “เหมือนพระพุทธเจ้าท่านอุบัติตรัสขึ้นในโลก ท่านมีธรรมกาย ธรรมกาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นตถาคตเจ้า ท่านมองทีเดียวแหละ ใครจะมีธรรมกายเหมือน เราบ้าง ท่านมีความรู้วิเศษ คนนี้มีเหตุได้สั่งสมอบรมมา สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยกัน แล้ว บารมีเป็นเหตุ บารมีแก่แล้ว สมควรที่จะได้มรรคผล สมควรจะมีได้ ธรรมกายเหมือนเรา ไม่ว่าอยู่ใกล้อยู่ไกล พระองค์อุตส่าห์พยายามไปแนะนำ ให้ มีธรรมกายเหมือนท่าน เมื่อมีธรรมกายเหมือนท่านก็เป็นหมู่เดียวกับท่าน”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More