ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 215
๖๖
ทิริโอตตัปปะ ภาค ๑
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙
นโม...
หิริโอตฺตปปสมฺปนฺนา...
ธรรมคุ้มครองสัตว์โลก
หิริโอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองสัตว์โลกให้อยู่ร่มเย็น ไม่ให้เบียดเบียนกัน มีมาก่อน
พระพุทธเจ้าอุบัติ
หิริ คือ ความละอายแก่ใจ
โอตตัปปะ คือ ความสะดุ้งกลัว
ถ้าไม่มีหิริโอตตัปปะ สัตว์โลกย่อมเบียดเบียนกันด้วยกายวาจาใจ เช่น รุกรานกันในทางการ
ค้า จนถึงขึ้นโรงขึ้นศาล
เริ่มต้นในทางปฏิบัติทางพุทธศาสนา การตั้งอยู่ในหิริโอตตัปปะ มุ่งเน้นให้ควบคุมตัวให้ตั้ง อยู่
ในธรรมอันขาว เพื่อความสงบระงับหมด โดยอาศัยความละอาย ความสะดุ้งกลัวนี้ค้ำจุนอยู่
ผู้สงบระงับ ได้ชื่อว่า “สนฺโต”
เมื่อมีความละอายสะดุ้งกลัว ก็ประพฤติให้ความสุขเขาทั้งข้างนอกข้างใน เรียก รูป อนต
ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน นักปกครอง ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา หรือพ่อค้า แม่ค้า
“บุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะตั้งอยู่ในเทวธรรม ธรรมอันประเสริฐ เช่นนี้แล้ว
ไม่กล้าประพฤติละเมิดเช่นนั้นได้ทั้งกายทั้งวาจา อายนัก ให้ความทุกข์เขา ด้วย
กาย อายนัก ให้ความทุกข์เขาด้วยวาจาก็อายนักเหมือนกัน มีแต่ให้ความสุข
ทางกาย ความสุขทางวาจา ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน”
เราควรมีความละอายและสะดุ้งกลัวอย่างไร ?
(๑) ความละอายสะดุ้งกลัว
มีความละอายสะดุ้งกลัวว่า เรายังไม่บริสุทธิ์ จึงต้องทำศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป ความบริสุทธิ์
นั้นเป็นธรรมอันขาว สนฺโต เป็นธรรมอันสงบเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามส่วนของศีล
ศีล ๕ ไม่ขาดตกบกพร่อง คือ
๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า เห็นว่าการฆ่าสัตว์เป็นการเบียดเบียนเขา จึง
เว้นขาดจากใจ