ข้อความต้นฉบับในหน้า
220 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
พระพุทธเจ้าทรงเห็นนัยนี้ จึงได้ทรงยกเรื่องนี้ให้ “พระปัญจวัคคีย์” ผู้ชำนาญในสมาธิแล้ว
เพื่อปรับในเรื่อง “ปัญญา” และเทศน์ต่อไปในเรื่อง “สัมมาทิฏฐิ” ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดทั้ง ๒ ข้าง ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขลลิกานุโยค ประกอบ
ด้วยความสุข อตฺตกิลมถานุโยค ประกอบด้วยความลำบากเปล่า ซึ่งเป็นกามโดยตรงกับกามโดยอ้อม
ประการที่ ๑ กามสุขลลิกานุโยค ตั้งบ้านเรือน ประพฤติกาม เต็มไปด้วยรูป รส กลิ่น เสียง
สัมผัส
ประการที่ ๒ อตฺตกิลมถานุโยค ทรมานตนเอง คือ ฤาษีชีไพรละการครองเรือน แต่บำเพ็ญ
ตบะหาความวิเศษ เป็นการหากามที่มากกว่าปรกติของคนปรกติ เช่น ท่านชฎิล ๑,๐๐๓ รูป ที่คอยรับ
เครื่องสังเวย ใครมีเรือนใหม่ต้องให้สุรา ยกชฏิลเป็นคนปกครอง เป็นคนวิเศษ
๒
พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้บรรพชิตเลิกเสพทั้ง ๒ ทางนี้ หันมาปฏิบัติ “ทางสายกลาง” เป็น
ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบ ประกอบด้วย “มรรค ๘ ประการ” คือ
สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปโป
สัมมาวาจา เว้นจากวจีทุจริต ๔ อย่าง
สัมมากัมมันโต ทำการงานชอบ เว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม
สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ บริโภคของบริสุทธิ์ ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต
สัมมาวายาโม เพียรในที่ ๔ สถาน
สัมมาสติ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔
สัมมาสมาธิ ตั้งใจในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ในรูปฌาน อรูปฌานทั้ง 4
พระองค์ตรัสว่า
กระทำความเห็นให้เป็นปกติ
กระทำความรู้ให้เป็นปกติ
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความสงบ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อเข้าไปสงบ
จกฺขุกรณี
ญาณกรณี
สํวตฺตติ
อุปสมาย
อภิญฺญาย
เพื่อรู้ยิ่ง
สมโพธาย
นิพฺพานาย
เพื่อความรู้พร้อม
เพื่อนิพพาน
ความเห็นของตากายมนุษย์ จนถึงกายอรูปพรหม เป็น “กายในภพ” ไม่ปกติ ความเห็นจริง
ไม่มี เห็นไม่เป็นไปในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ความเห็นที่เอาเป็นจริงจังได้ ต้องความเห็นของตาธรรมกาย รู้ด้วย “ญาณธรรมกาย” ทั้ง
หยาบ ละเอียด จึงจะเป็น จกฺขุกรณี ญาณกรณี
เมื่อพระปัญจวัคคีย์ ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ได้รู้ชัดว่ามี “ธรรมกาย” เกิดขึ้น
เพราะความเห็นความรู้เป็นปกตินั้น