การถอนตัณหาและการเข้าถึงนิพพาน ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๕๙-๖๙ หน้า 14
หน้าที่ 14 / 43

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงแนวทางการฝึกเพื่อถอนตัณหาจากขันธ์ ๕ ที่เป็นภาระหนัก ซึ่งมีการอธิบายว่าการเข้าถึงนิพพานนั้นต้องเรียนรู้การถอดขันธ์อย่างละเอียด ถึงแม้จะต้องเผชิญกับความผูกพันและความสึกเศร้า ความรู้เกี่ยวกับขันธ์ ๕ จะช่วยให้เรารู้สึกปล่อยวางและมีความสุขเมื่ออยู่กับกายธรรม

หัวข้อประเด็น

-การถอดขันธ์ ๕
-การเข้าถึงนิพพาน
-การฝึกจิต
-พระมงคลเทพมุนี
-ความหมายของธาตุธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 209 กายรูปพรหม ภวตัณหาเกาะได้ อรูปพรหม กายธรรม วิภวตัณหาเกาะอาศัยได้ ตัณหาซึมซาบเอิบอาบไม่ได้ เหมือนแก้วเนื้อละเอียด เมื่อเข้าถึงธรรมกายจึงหลุดได้ หลุดไม่มีระแคะระคาย เป็นโสดา สกทาคา อนาคา อรหัต แตกกายทำลายขันธ์ก็ไปนิพพาน ทิ้งขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม เพราะตัณหาหมด ก็ไม่ปรารถนาอาลัยในกายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม อีกต่อไป จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากเสียได้ ความปรารถนาดับสิ้นชื่อว่า “นิพพาน” ขันธ์ของภพไหนต้องอยู่ประจำภพนั้น ข้ามภพไม่ได้ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์จะเอาไปใช้ในภพทิพย์ไม่ได้ ขันธ์ ๕ รูปพรหม อรูปพรหม ก็เช่นกัน ใช้ในนิพพาน ไม่ได้ นิพพานมีธรรมขันธ์ ที่เรียกว่าธรรมธาตุที่ละเอียดกว่า ไม่เรียกรูปกายเหมือนกายมนุษย์ เรียก “ธรรมกาย” แต่มีรูปธรรม นามธรรม ขันธ์ ๕ จึงเป็นภาระหนัก ให้หมั่นฝึกถอดขันธ์ ๕ ด้วยวิธี ถอด กายเช่นนี้ เพราะถึงวันหนึ่งเราก็ต้องถอดขันธ์ ๕ อยู่ดี “เหมือนอย่างจำศีลภาวนา ปล่อยลูกไว้ทางบ้าน แต่ลูกก็มีขันธ์ ๕ ปล่อย ได้ชั่วขณะชั่วคราว ถึงแม้ปล่อยใจก็คิดตะหงิดๆ อยู่เหมือนกัน มันยึดถืออยู่ ไม่ปล่อยจริงๆ ต้องถอดเป็นชั้นๆ แต่ถอดเช่นนั้นยังเสียดายน้ำตาตก โศกเศร้า หาน้อยไม่ ไม่ต้องของตัวถอดดอก เพียงแต่ของคนอื่น ก็ร้องทุกข์กันออกลั่นไป ถ้าของตัวถอดจะเป็นอย่างไร น้ำตาตกข้างในเรียกว่าร้องไห้ช้าง คือร้องดื่มๆ ถึงแก่เฒ่าชราก็ไม่อยาก ถึงเป็นโรคเรื้อรังก็ไม่อยากถอด อยากให้อยู่อย่างนั้น เพราะเหตุฉะนั้นการถอดขันธ์ ๕ มันต้องถอดแน่ เราต้องหัดถอด เขามีวิธีให้ ถอด ถอดเป็นชั้น... ถอดให้คล่อง” “เพราะฉะนั้น เมื่อรู้จักขันธ์ ๕ เป็นภาระหนักให้อุตส่าห์วางเสีย แม้ถึงจะ ยึดก็แต่ทำเนา เป็นของอาศัยชั่วคราว เป็นของมีโทษ ดังภาชนะขอยืมกันใช้ชั่วคราว ของสำหรับอยู่อาศัยชั่วครั้งชั่วคราว ร่างกายก็อาศัยชั่วคราวหนึ่ง อย่าถือเป็นจริงๆ... ถึงมีทุกข์บ้างก็หน่อยหนึ่ง ขันธ์ ๕ นี้เป็นภาระจะต้องดูแลเอาใจใส่...ถ้าปล่อยวาง ได้เป็นสุข...ถ้าเอามาเป็นภาระก็เป็นเชื้อเป็นที่ตั้งของตัณหา จะถอนไม่ออก...จะถอน ตัณหาทั้งราก ต้องปล่อยให้ถึงที่สุด ปล่อยได้ ไปอยู่กับอะไร ต้องไปอยู่กับกาย ธรรม เมื่ออยู่กับกายธรรม ใจเหมือนอยู่ในนิพพาน สบาย แสนสบาย สำราญ” แสน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More