ข้อความต้นฉบับในหน้า
214 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
รสกระทบลิ้น
กายกระทบสัมผัส
ใจกระทบอารมณ์
ดวงวิญญาณรู้
ดวงวิญญาณรู้
ดวงวิญญาณรู้
ดวงวิญญาณของกาย ๘ กายแรก รู้ตามอายตนะเท่านั้น ถ้ามากกว่านี้ดวงวิญญาณรู้ไม่ได้
เพราะไม่ได้รู้ด้วยปัญญา จะผิดจะถูกไม่รู้ เหมือนคนตาบอดรู้จักที่นอนที่กิน เขาก็คลำทางไปได้
ดวงวิญญาณตรวจตามอายตนะทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บางทีก็รู้ผิดเป็นถูก รู้ถูกเป็นผิด
รู้จริงรู้ชัด ต้องรู้ด้วยญาณธรรมกาย
ใจของธรรมกายมี เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่าง
รู้ นั้นตรงกับดวงวิญญาณ
คิด นั้นตรงกับดวงจิต
จ๋า
นั้นตรงกับดวงใจ
เห็น นั้นตรงกับดวงกาย
ใจของธรรมกายมี เห็น จำ คิด รู้ เช่นเดียวกับ ๘ กายแรก แต่วิธีการรู้ต่างกัน เพราะมี
ญาณเป็นตัวรู้ คือ พอถึงธรรมกาย ดวงเห็นขยายส่วนออก หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ดวงเห็น
ขยายออก ไปวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่านั้น กลมรอบตัว ดวงเห็นขยายออกไปเท่าใด ดวงเห็น ดวงจำ
ดวงคิด ดวงรู้ ก็ขยายออกเท่ากัน โดยซ้อนกันเป็นชั้น ๔ ชั้น มีดวงเห็นอยู่นอกสุด เข้าไปเป็นดวงจำ
ดวงคิด ดวงรู้ เมื่อขยายส่วน เรียกว่า “ญาณ” (ถ้ายังไม่ขยายเรียก ดวงวิญญาณ)
รู้ด้วยวิญญาณกับรู้ด้วยญาณ ต่างกันอย่างไร ?
รู้ด้วยดวงวิญญาณ รู้เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา (รู้ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง)
รู้ด้วยฌาน
รู้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ว่ามนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด
ล้วนมีขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อนิจจัง คือ ไม่คงที่ เปลี่ยนแปรผัน
ทุกขัง คือ ถึงซึ่งความลำบาก ไม่สบาย เบญจขันธ์เป็นทุกข์เดือดร้อนอยู่เสมอ มีเย็น
ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ
อนัตตา คือ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร ไม่ใช่ตัว เราจะบังคับให้สุข ไม่ให้ทุกข์ ไม่ได้
เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายว่ากายมนุษย์เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นว่าเกิดเป็นทุกข์ เหตุ
เกิดทุกข์ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความดับทุกข์เป็นนิโรธ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ซึ่งเรียกว่า “อริยสัจสี่” ก็เข้าถึงธรรมกายชั้นต่อๆ ไป คือ ธรรมกายพระโสดา พระสกทาคา พระอ
นาคา และเป็นพระอรหัต
เมื่อถึงพระอรหัตละเอียดแล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็น “สีติภูโต” เป็นผู้เย็นแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว กิจ
ที่จะต้องทำ ไม่ต้องทำแล้ว