การเดินทางไปวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ Case Study กฎแห่งกรรม เล่มที่ 7 หน้า 47
หน้าที่ 47 / 136

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เล่าถึงการเดินขึ้นสะพานสูงข้ามคลองบางกอกใหญ่ไปวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ ของคุณยายและเด็กๆ ในการเดินทางที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีอุปสรรคและความกลัวในระหว่างทาง เช่น น้ำท่วมและสะพานที่ต้องข้าม จึงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้เดินทางในอดีต และความเชื่อมโยงกับสถานที่และวัฒนธรรมไทยในช่วงเวลานั้น.

หัวข้อประเด็น

-การเดินทางไปวัด
-ประสบการณ์ของคนไทย
-สะพานสูงและคลอง
-ประวัติวัดปากน้ำ
-ความกลัวและความมุ่งมั่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คนไทยแท้ กางร่มเดินขึ้นสะพานสูง เป็นทางข้ามแคบๆ ข้ามคลองบางกอกใหญ่ และผ่านประตูน้ำภาษีเจริญ ทำด้วยไม้กระดาน 2 แผ่นผุเป็นรู เป็นเขื่อนกั้นน้ำเปิด ปิด 2 ปีกซ้ายขวา พอเรือมา สะพานนี้จะแยกออ ะแยกออกจาก กันจนเรือผ่านพ้นไปแล้วเลื่อนมาปิดให้คนเดินข้ามตาม เดิม เด็กๆชอบตามผู้ใหญ่ไปนั่งสมาธิ แต่กลัวตกสะพาน นี้เป็นที่สุด ต้องจับมือจูงซ้ายขวาเดินกันไปด้วยกัน และ ยังต้องข้ามสะพานหนึ่งเหนือคลองสายเล็กๆ เชิงสะพาน นี้ เป็นรอยต่อตรงทางแยก ทำให้น้ำเชี่ยวกรากแม้ว่าน้ำ จะลึกเพียงหัวเข่า แต่ก็น่ากลัวสะดุดหกล้ม ม วัดปากน้ำ ภาษีเจริญเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ตรงที่เป็น โรงครัวปัจจุบัน เคยเป็นกุฏิเก่าๆ จะล้มมีล้มแหล่ ด้าน ข้างมีกำแพง มีกุฏิเป็นที่อยู่ของแม่ชีบุก และแม่ชีที่นั่ง สมาธิแบบไก่ฟักไข่ ฯลฯ คุณยายอาภรณ์เคยเดินเลยบ้าน ธรรมประสิทธิ์ไปนั่งสมาธิที่บ้านอีกหลังหนึ่ง แต่ที่ไปนั่ง เป็นประจำคือตึกขาว ซึ่งเป็นตึกเล็กๆ สูง 2 ชั้น ใช้เวลา เดิน 15 นาทีจากบ้านไปวัด ระหว่างทางจากบ้านไป วัดปากน้ำ ถนนไม่ดี ทางลำบาก น้ำท่วมเวลาฝนตก บางช่วง ถ้าฝนตกหนัก น้ำเชี่ยวกราก ท่วมถึงหัวเข่า และ ลึกที่สุดตรงต้นหูกวาง แต่คุณยายก็ไม่เคยหวั่น มุ่งมั่น ASE STUDY 46
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More