ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาค สมาสและตัทธิต - หน้าที่ 108
กัมมธารยสมาส
[๔๕] นามศัพท์ ๒ บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน
บทหนึ่งเป็นประธาน คือ เป็นนามนาม, บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือ
เป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้ง ๒ บท มีบทอื่นเป็นประธาน ที่
ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อ กัมมธารยสมาส ๆ นั้น มี 5 อย่าง
คือ " วิเสสนปุพฺพปโท, วิเสสนุตตรปโท, วิเสสโนภัยปโท,
วิเสสโนปมปโท, สมภาวนปุพฺพปโท, อาธารณปุพฺพปโท."
ๆ
วิเสสนบุพพบท มีบท วิเสสนะ อยู่ต้น, บทประธานอยู่ข้าง
หลัง อย่างนี้ " มหนฺโต ปุริโส = มหาปุริโส บุรุษใหญ่, ขตฺติยา
กัญญา = ขตฺติยกัญญา นางกษัตริย์, นีล อุปปล - นีลุปุป ดอก
อุบลเขียว, " ในสมาสนี้ เอามหันตศัพท์ เป็นมหา อย่างนี้ " มหา
ราชา พระราชาผู้ใหญ่, มหาธานี เมืองใหญ่, มหาวน์ ป่าใหญ่ "
เป็นต้น. บางสมาสท่านก็ย่อบทวิเสสนะ เหลือไว้แต่อักษรตัวหน้า
อย่างนี้ " กุจนิตา ทิฏฐิ - กุทิฏฐิ ทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียด, ปธาน
วจน์ = ปาวจน์ คำเป็นประธาน, สนฺโต ปุริโส = สปฺปุริโส บุรุษ
ระงับแล้ว " แม้ถึงอย่างนี้ ก็เป็น วิเสสนบุพพบทแท้,
วิเสสนุตตรบท มีบทวิเสสนะ อยู่หลัง บทประธานอยู่หน้า
อย่างนี้ " สตฺโต วิเสโส = สตฺตวิเสโส สัตว์วิเศษ, นโร วโร-นราโร
นระประเสริฐ, มนุสฺโส ทลิทโท มนุสฺสทลิทโท มนุษย์ขัดสน."