บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาค: การใช้ศัพท์ตามปัจจัย บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาค สมาสและตัทธิต หน้า 44
หน้าที่ 44 / 53

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาด้านหน้าของบาลีไวยกรณ์ วจีวิภาค บทนี้เน้นการวิเคราะห์ศัพท์ที่ลงท้ายด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น อี, ร, และ วนต โดยอธิบายความหมายและการประยุกต์ใช้ในประโยค ที่ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคำและความหมาย เช่น "สุขี" หมายถึง "มีสุข" และ "ปัญญา" หมายถึง "มีปัญญา" ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการสร้างและใช้ศัพท์ในภาษาบาลีได้ดียิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-การใช้ศัพท์บาลี
-การวิเคราะห์ศัพท์
-บทบาทของปัจจัยในประโยค
-ความหมายของคำในประโยค
-การศึกษาไวยกรณ์บาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาค สมาสและตัทธิต - หน้าที่ 147 ศัพท์ที่ลง อี ปัจจัย อย่างนี้ ทณฺฑี คนมีไม้เท้า [ วิเคราะห์เหมือนทณฺฑิโก ] สุข อสฺส อตฺถิ-ติ สุขี สุข ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น [ชนนั้น] ชื่อว่า มีสุข, โภโค อสฺส อตฺถิ-ติ โภคี โภคะ [สมบัติ] ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น [ ชนนั้น] ชื่อว่า มีโภคะ. ศัพท์ที่ลง ร ปัจจัย อย่างนี้ มธุ อสฺส อตฺถิติ มธุโร น้ำผึ้ง ของขนมนั้น มีอยู่ เหตุนั้น [ขนมนั้น] ชื่อว่า มีน้ำผึ้ง (มีรสหวาน 1. มุข อสส อตฺถิ-ติ มุขโร ปาก ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น [ชนนั้น] ชื่อว่า มีปาก [ คนปากกล้า ]. ศัพท์ที่ลง วนต ปัจจัย อย่างนี้ คุโณ อสฺส อตฺถิ-ติ คุณวา คุณ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น [ชนนั้น] ชื่อว่า มีคุณ ธน์ อสฺส อตฺถิ-ติ ธนวา ทรัพย์ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น [ชนนั้น] ชื่อว่า มีทรัพย์ ปญฺญา อสฺส อตฺถิ-ติ ปญฺญาวา ปัญญา ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น [ชนนั้น] ชื่อว่า มีปัญญา ปญฺญ์ อสฺส อตฺถิ-ติ ปุญฺญวา บุญ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น [ชนนั้น] ชื่อว่า มีบุญ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More