บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาค สมาสและตัทธิต บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาค สมาสและตัทธิต หน้า 22
หน้าที่ 22 / 53

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงการวิเคราะห์ศัพท์ในบาลี โดยเฉพาะการเปรียบเทียบกากสูโร และสีหสูโร พร้อมอธิบายความเป็นปฐมพหุพพิหิ รวมถึงความแตกต่างของศัพทในบริบทต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นปัญหาหรือมีการตีความที่หลากหลายในศาสตร์ของบาลีกับข้อเสนอของศาสนา แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนและการพิจารณาในเชิงลึกในหัวข้อเหล่านี้

หัวข้อประเด็น

-การวิเคราะห์ศัพท์
-อุปมาบุพพบท
-บาลีไวยกรณ์
-ปัญหาศัพท์
-ความหมายของศัพท์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒ ประโยค - บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาค สมาสและตัทธิต - หน้าที่ 127 ศัพท์ คือ กากสูโร คนกล้าเพียงดังกา แม้ถึงท่านจะไม่ได้ยกขึ้น แสดงในคัมภีร์ทั้ง ๒ นั้นว่า เป็นอุปมาบุพพบท กัมมธารยะ ก็มีรูป ความ เหมือนศัพท์ คือ สงฺขปณฺฑร์ ข้าพเจ้าจึงจัดไว้เป็นพวกเดียวกัน ส่วนในฎีกาแห่งสัตถสารัตถชาลินี กล่าวว่าศัพท์ คือ กากซูโร คน กล้าเพียงดังกา สีหสูโร คนกล้าเพียงดังสีหะ ๒ ศัพท์นี้ เป็นปฐมา พหุพพิหิ ในจุลสัททนีติ ก็กล่าวเหมือนฎีกาแห่งสัตถสารัตถชาลินี ยกเอาศัพท์ทั้ง ๒ คือ สงฺขปณฺฑร์ และ กากสูโร เป็นอุทาหรณ์ และกล่าวให้วิเศษต่อไปว่า " อธิบายอย่างอื่นยังมีอีก คือกากโต สูโร -กากสูโร คนกล้ากว่ากา ในอรรถนี้เป็นปัญจมีตัปปุริสะ " ศัพท์ที่ยก ขึ้นแสดง เป็นอุทาหรณ์เหล่านี้ มีรูปความเป็นอย่างเดียวกัน จะเป็น สมาสอะไรก็ต้องเป็นด้วยกัน แต่ท่านแสดงต่าง ๆ กันไปอย่างนี้ ข้าพเจ้า เองก็ยังแสวงหาเหตุอยู่ว่า ศัพท์เหล่านี้ เป็นปฐมาพหุพพิหิด้วยเหตุไร หรือจะประสงค์ว่า บรรดาศัพท์ที่มีบทอื่นเป็นประธานแล้ว เป็นพหุพพิหิ สิ้น ตามสูตรว่า " อญฺญปทตฺเถ พหุพพิหิ พหุพพิหิ ในอรรถแห่ง บทอื่นทั้งหลาย " ถ้าถือมั่นตามแบบนี้แล้ว กัมมธารยะ บางอย่าง มี สีตสมฏฐิ [ฐาน ที่] ทั้งเย็นทั้งเกลี้ยง, กุสลสงชาติ กมุม กรรม [อันบัณฑิต ] นับพร้อมว่ากุศล. เป็นต้น และตัปปุริสะบางอย่าง มี อรญฺญคโต ชนไปแล้วสู่ป่า, สกุลวิทโธ สัตว์อันศรแทงแล้ว เป็นต้น จะมิต้องกลายเป็นพหุพพิหิด้วยหรือ ? อีกอย่างหนึ่ง ในพาลปโพธิและสัตถสารัตถชาลินี จัดไว้แต่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More