ลักษณะการปลงอาบัติที่ถูกต้อง สวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย หน้า 180
หน้าที่ 180 / 319

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการปลงอาบัติสำหรับภิกษุ ซึ่งต้องรีบแสดงอาบัติให้ตรงตามหลักที่กำหนด เช่น การนั่งให้เหมาะสม การยกมือในระหว่างการแสดงอาบัติ และความเหมือนกันในการห่มผ้า เพื่อให้การปลงอาบัติเป็นไปอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการอธิบายเกี่ยวกับการบวชและความสำคัญของการทำเช่นนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมและประเพณีในพระพุทธศาสนา สามารถต่อยอดความรู้ได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การปลงอาบัติ
-การแสดงอาบัติ
-หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
-อุปสมบทและภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย ลักษณะการปลงอาบัติที่ถูกต้อง ๑๗๕ จากหนังสือ พระปาฏิโมกข์แปล นิพนธ์ของสมเด็จพระวันรัตน์ (แดง สีลวฑฺฒโน) ภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ให้รีบ แสดงเสีย อย่าแช่ไว้ในอาบัติ การปลงอาบัติที่ถูกต้อง เพื่อให้อาบัติตกนั้น ต้องกำหนด ดังนี้ก่อน คือ ๑. ถ้านั่งชิดกันเกินไปแสดงอาบัติไม่ตก ต้องนั่งให้ มนุษย์และสัตว์เดินผ่านได้ จึงจะแสดงอาบัติตก ๒. เวลาแสดงอาบัติ พระอ่อนพรรษายกมือสูง พระแก่พรรษายกมือต่ำกว่าผู้อ่อนพรรษา แสดงอาบัติ ด้วยกันไม่ตก พระแก่พรรษาต้องยกมือสูง พระอ่อน พรรษยกมือตาและน้อมกายเข้าหาด้วย จึงแสดงอาบัติตก ๓. ภิกษุอุปสมบทคนละอุปัชฌาย์ คนละสีมา แต่บวช วัน เดือน ปี เวลานาทีเดียวกัน เวลาปลงอาบัติด้วยกัน ถ้า ภันเต ก็ว่า ภันเต ด้วยกัน ถ้าว่า อาวุโส ก็ว่า อาวุโส ด้วยกัน เพราะอุปสมบทเสมอกัน ๔. การห่มผ้านั้นต้องให้เหมือนกัน จึงจะแสดง อาบัติตก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More