สวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย สวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย หน้า 188
หน้าที่ 188 / 319

สรุปเนื้อหา

บทสวดมนต์ฉบับวัดพระธรรมกายเสนอกิจวัตร 10 อย่างที่ภิกษุต้องปฏิบัติ เช่น ลงอุโบสถ, บิณฑบาต, และสวดมนต์เจริญภาวนา พร้อมอธิบายเกี่ยวกับคำชักผ้าบังสุกุลจีวรและความสำคัญของการถือศีล. ข้อห้ามในการบริโภคเนื้อ 10 ชนิดก็มีการกล่าวถึงเพื่อให้ภิกษุประพฤติปฏิบัติดีตามหลักพระธรรม.

หัวข้อประเด็น

-คำชักผ้าบังสุกุลจีวร
-กิจวัตรของภิกษุ
-ศีลธรรมในการบริโภค
-การสวดมนต์เจริญภาวนา
-ความสำคัญของการศึกษาและปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย คำชักผ้าป่าที่มีเจ้าของ ១៨៧ อิทัง วัตถัง สัสสามิกัง ปังสุกุละจีวะรัง มัยหัง ปาปุณาติ ฯ ผ้าบังสุกุลจีวรอันมีเจ้าของนี้ ย่อมถึงแก่เรา ฯ (แปลเอาความ) ผ้าบังสุกุลจีวรอันมีเจ้าของนี้ จงสำเร็จประโยชน์ แก่ข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้ ฯ กิจวัตร ๑๐ อย่าง ๑. ลงอุโบสถ ๒. บิณฑบาต ๓. สวดมนต์เจริญภาวนา ๔. กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์ ๕. รักษาผ้าครอง 5. อยู่ปริวาสกรรม ๗. โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ ๔. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์ ๙. เทศนาบัติ ๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้งสี่เป็นต้น กิจวัตร ๑๐ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ ชัดเจนและจำไว้เพื่อปฏิบัติให้สมควรแก่สมณสารูปแห่งตนฯ ภิกษุไม่ควรรับและฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง ๑. เนื้อมนุษย์ ๒. เนื้อช้าง ๓. เนื้อม้า ๔. เนื้อสุนัข
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More