สวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย สวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย หน้า 228
หน้าที่ 228 / 319

สรุปเนื้อหา

เมื่อบูชาเสร็จแล้ว จะมีการกล่าวคำขอขมาอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ที่ทำผิดพลาดด้วยกาย วาจา และใจ พร้อมทั้งขอโทษทั้งในชีวิตประจำวันและในทางธรรม ขออโหสิกรรมจากผู้ใหญ่หรือคนที่มีฐานะสูงกว่าเพื่อให้มีการให้อภัยกันอย่างเหมาะสม ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน. การขอขมาโทษนี้เป็นการแสดงความรับผิดชอบและการเคารพต่อกันในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-การขอขมา
-การอโหสิกรรม
-การสร้างความสัมพันธ์ในพุทธศาสนา
-การเคารพระหว่างบุคคล
-การบูชาในวัดพระธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย ๒๒๗ เมื่อบูชาเสร็จแล้วจะกล่าวคำขอขมาโทษต่อไปเลยก็ ให้ว่าดังนี้ “กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ถ้าลูกได้ ประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ขอคุณพ่อได้โปรด อโหสิกรรมให้แก่ลูกด้วย ตราบกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน เทอญ” (กราบ) ถ้าเป็นญาติหรือคนอื่นก็เปลี่ยนไปให้เหมาะสมกับฐานะ ของญาติและบุคคลนั้นๆ คำขอขมาโทษนี้ใช้ได้ทั่วไป แม้ท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ใช้ได้ แต่ว่าผู้ใหญ่เมื่อผู้น้อยมาขอขมา ควรประนมมือ หรือวางมือไว้ในแล้วกล่าวตอบว่า “โทษอันใดที่เธอ ได้ล่วงเกินฉัน ฉันขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น แต่ถ้าหากว่า ฉันได้เคยล่วงเกินเธอ ขอเธอได้อโหสิกรรมให้แก่ฉัน ด้วยเทอญ” (เปลี่ยนคำที่ใช้แทนตัวไปตามฐานะของบุคคล)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More