การแสดงอาบัติในพระพุทธศาสนา สวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย หน้า 181
หน้าที่ 181 / 319

สรุปเนื้อหา

เนื้อหากล่าวถึงวิธีการแสดงอาบัติที่ถูกต้องสำหรับภิกษุในอาวาสเดียวกัน โดยอธิบายว่าเมื่อภิกษุสององค์ต้องการแสดงอาบัติ ต้องนั่งในอาสนะที่เสมอกันและต้องมีการส่งภิกษุไปยังอาวาสอื่นเพื่อให้การแสดงอาบัติตกลง บรรยายขั้นตอนการแสดงอาบัติที่ต้องกราบพระประธานและทำตามลำดับระหว่างภิกษุอ่อนพรรษาและแก่พรรษา. สรุปขั้นตอนการแสดงอาบัติที่บริสุทธิ์และถูกต้องตามประเพณีในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-การแสดงอาบัติ
-ขั้นตอนการปลงอาบัติ
-ความสำคัญของการแสดงอาบัติ
-ภิกษุในอาวาส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

១៨០ ๕. ถ้านั่งอยู่คนละอาสนะ แสดงอาบัติด้วยกันไม่ตก ต้องนั่งที่เสมอกันจึงจะแสดงอาบัติตก 5. หากภิกษุในอาวาสเดียวกัน ต้องอาบัติเดียวกัน แสดงอาบัติด้วยกันไม่ตก ต้องส่งภิกษุในอาวาสนั้น ๑ องค์ หรือ ๒ องค์ ไปแสดงอาบัติที่อาวาสอื่นก่อน เมื่อกลับมา แล้วให้แสดงกันต่อ ๆ ไป อาบัตินั้นจึงจะตกและบริสุทธิ์ได้ วิธีแสดงอาบัติ เมื่อจะปลงอาบัตินิยมกราบพระประธานหรือพระสถูป เจดีย์ก่อน ต่อจากนั้นภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า จึงกราบภิกษุ ผู้แก่พรรษา แล้วเริ่มปลงอาบัติตามลำดับดังนี้ (พรรษาอ่อนว่า) สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ ฯ ( ๓ ครั้ง) สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ ฯ (๓ ครั้ง) อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย ๓ อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ ฯ (พรรษาแก่รับว่า)ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย ฯ (พรรษาอ่อนว่า) อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ ฯ (พรรษาแก่รับว่า)อายะติง อาวุโส สังวะเรยยา ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More