บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ ๒ นามและอัพพยศัพท์ บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาคที่ 2 นามและอัพพยศัพท์ หน้า 1
หน้าที่ 1 / 78

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการจำแนกนามในภาษาบาลีเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ นามนาม คุณนาม และสัพพนาม โดยนามนามแบ่งออกเป็นสาธารณนามและอาสาธารณนาม นอกจากนี้ยังมีการแสดงลักษณะของนามที่บอกถึงคุณค่าและลักษณะของนามนั้นๆ เช่น นามดีหรือนามชั่ว รายละเอียดเกี่ยวกับคุณนามยังแบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ ที่บอกถึงคุณสมบัติของนามตามลักษณะความดีหรือความชั่ว เช่น ปกติ วิเสส อติวิเสส โดยยกตัวอย่างคำที่แสดงลักษณะต่างๆ ในการใช้บรรยายลักษณะของนามในบริบทต่างๆ

หัวข้อประเด็น

-การจำแนกนาม
-นามนาม
-คุณนาม
-สัพพนาม
-ประเภทของนาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ ๒ นามและอัพพยศัพท์ - หน้าที่ 29 วจีวิภาค ภาคที่ ๒ นาม [๒๓] นามศัพท์นั้นแบ่งเป็น ๓ คือ นามนาม ๑ คุณนาม ๑ สัพพนาม ๑. นามที่เป็นชื่อของคน, สัตว์, ที่, สิ่งของ, เป็นนามนาม, นามนามนี้ แบ่งออกเป็น ๒ คือ สาธารณนาม ๑ อสาธารณนาม ๑. นามที่ทั่วไป แก่คน, สัตว์, ที่, อื่นได้ เหมือนคำว่า มนุสฺโส มนุษย์ ติรัจฉาโน สัตว์ดิรัจฉาน นคร เมือง เป็นต้น เป็นสาธารณนาม. นามที่ไม่ทั่วไป แก่สิ่งอื่น เหมือนคำว่า ทีฆาวุ กุมารชื่อทีฆาวุ เอราวโณ ช้างชื่อ เอราวัณ สาวตฺถี เมืองชื่อสาวัตถีเป็นต้น เป็นอาสาธารณนาม นามที่แสดงลักษณะของนามนาม สำหรับหมายให้รู้ว่า นามนาม นั้น ดีหรือชั่วเป็นต้น เป็นคุณนาม เหมือนคำว่า ปญฺญวา มี ปัญญา ปุริโส บุรุษ ถือเอาความตามภาษาของเราว่า บุรุษมีปัญญา ปุริโส เป็นนามนาม ปญฺญวา เป็นคุณนาม, คุณนามนี้แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ปกติ ๑ วิเสส ๑ อติวิเสส ๑. คุณนามที่แสดงความดีหรือ ชั่ว เป็นปกติ เหมือนคำว่า ปณฺฑิโต เป็นบัณฑิต ปาโป เป็นบาป ชื่อปกติ, คุณนามที่แสดงความดีหรือชั่ว มากหรือน้อยกว่าปกติ เหมือนคำว่า ปณฺฑิตตโร เป็นบัณฑิตกว่า ปาปาโร เป็นบาปกว่า ชื่อวิเสส. คุณนามที่แสดงความดีหรือชั่วมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เหมือน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More