บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ ๒ นามและอัพพยศัพท์ บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาคที่ 2 นามและอัพพยศัพท์ หน้า 69
หน้าที่ 69 / 78

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้ได้กล่าวถึงคำในบาลีหลายคำที่ใช้ในบริบทต่างๆ เช่น 'อคเฆ' ที่ใช้เรียกคนสูงกว่าและ 'ยคเฆ' ที่สามารถใช้พูดได้ทั่วไป รวมถึงการใช้คำพูดที่บ่งบอกถึงความเคารพ เช่น 'สรวมชีพ' และ 'ขอเดชะ' ที่ใช้สำหรับตอบทูลพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในการใช้คำนั้นๆ ในสังคม นอกจากนี้ยังมีการอธิบายความหมายและการใช้คำเหล่านี้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งสะท้อนถึงวิธีการสื่อสารและความสำคัญของภาษาในวัฒนธรรมต่างๆ โดยเรียบเรียงอย่างละเอียดและชัดเจน โดยสามารถอ่านพัฒนาการสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การใช้ภาษาบาลี
-คำในบาลีและความหมาย
-ความเคารพในคำพูด
-ลักษณะของการสื่อสารในวัฒนธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ ๒ นามและอัพพยศัพท์ - หน้าที่ 97 ได้ยินเล่าลือ ความปริกัป ความถาม ความรับ ความเตือน เป็นต้น ข้าพเจ้าจัดรวมไว้เป็นพวก ๆ พอเป็นที่สังเกต. นิบาตบอกอาลปนะ อคเฆ เป็นคำสำหรับร้องเรียก ให้คนสูงกว่าตนตั้งใจฟังคำที่ผู้พูด ประสงค์จะว่า ไม่มีคำแปลในภาษาของเราให้ตรงกันได้ และคำ เช่นนี้ ก็ไม่ใคร่มีใช้นักในภาษาของเรา เห็นมีอยู่แต่คำทูลพระเจ้า แผ่นดินว่า "สรวมชีพ" หรือ "ขอเดชะ" ซึ่งเป็นคำพูดเพื่อ จะให้พระจ้าแผ่นดิน ตั้งพระราชหฤทัยฟังคำที่จะพูดต่อไป, คำว่า "ยคุเฆ" มีอธิบายอย่างนั้น แต่จะว่าตรงกันแท้ไม่ได้ เพราะคำว่า "สรวมชีพ" และ "ขอเดชะ" ใช้ได้แต่ทูลพระเจ้าแผ่นดิน ใช้ทูล เจ้านายหรือกราบเรียนท่านเสาบดีอื่นไม่ได้ แต่คำว่า "ยกเฆ" บ่าย ใช้พูดกับนายก็ได้ อุ. "ยคเฆ เทว ชาเนยยาส, ขอเดชะ ข้าแต่เทวดา พระองค์ พึงทรงทราบ." ๒ အ ค ภนเต, ภทนเต ๒ นี้ เป็นคำสำหรับคฤหัสถ์เรียกบรรพชิต ด้วยเคารพ หรือ บรรพชิตผู้อ่อนพรรษากว่า เรียกบรรพชิตผู้แก่กว่า อุ. "กตุมิ ปน ภนฺเต คนถธุร์ ? ภันเต ก็ คันถธุระ เป็นไฉน ? 0 ๒ ๔ ๓ ๒ ๔ 0
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More