บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ ๒ - สัพพนาม บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาคที่ 2 นามและอัพพยศัพท์ หน้า 49
หน้าที่ 49 / 78

สรุปเนื้อหา

สัพพนามในภาษาบาลีแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ ปุริสสัพพนาม ซึ่งหมายถึงศัพท์ที่ไว้แทนชื่อของบุคคลหรือสิ่งของที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ แบ่งออกเป็น 3 บุรุษ ได้แก่ ต ศัพท์ (ประถมบุรุษ), ตุมห ศัพท์ (มัธยมบุรุษ), และ อมห ศัพท์ (อุตตมบุรุษ) โดยในส่วนของปุริสสัพพนามจะแบ่งชนิดตามบทบาทเช่น ผู้พูด ผู้ฟัง และถูกพูดถึง บทความนี้เป็นการอธิบายที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับสัพพนามในภาษาบาลี พร้อมตัวอย่างและข้อแตกต่างจากภาษาไทย ที่สามารถนำไปใช้ในการศึกษาและการใช้ภาษาต่อไปได้

หัวข้อประเด็น

-แบ่งประเภทสัพพนาม
-ปุริสสัพพนาม
-วิเสสนสัพพนาม
-การใช้งานในประโยค
-การเปรียบเทียบกับภาษาไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ ๒ นามและอัพพยศัพท์ - หน้าที่ 77 สัพพนาม ๘๑ สัพพนามนั้น แบ่งเป็น ๒ คือ ปุริสสัพพนาม ๑ วิเสสน สัพพนาม ๑. ปุริสัพพนามนั้น เป็นศัพท์สำหรับใช้แทนชื่อคนและ สิ่งของที่ออกชื่อมาแล้วข้างต้น เพื่อจะไม่ให้เป็นการซ้ำซาก นับตาม บุรุษที่ท่านจัดไว้ใน อาขยาต เป็น ๓ คือ ต ศัพท์ ๑ ตุมห ศัพท์ ๑ อมห ศัพท์ ๑. ต ศัพท์ที่ต้นนั้นเป็น ปฐมปุริส หรือ ประถมบุรุษ ชายที่ ๑ สำหรับออกชื่อคนและสิ่งของ ที่ผู้พูดออกชื่อถึง เช่น คำในภาษาของเราว่า "เขา" เป็นไตรลิงค์ ที่ว่านี้ ประสงค์เอา ต ศัพท์ ที่ท่านใช้แต่ลำพังอย่างเดียว เป็นประถมบุรุษ, ต ศัพท์ที่ท่าน ประกอบด้วยนามนามที่เป็นประถมบุรุษก็ดี ด้วย ตุมห และ อมห ศัพท์ก็ดี เป็นวิเสสนสัพพนาม, ตุมห ศัพท์ที่ ๒ นั้น เป็น มชฺฌิม ปุริส หรือ มัธยมบุรุษ ชายมีในท่ามกลาง สำหรับออกชื่อคนที่ ผู้พูด ๆ กับคนใด สำหรับออกชื่อคนนั้น เช่นคำในภาษาของ เราว่า "เจ้า, ท่าน, สู, เอง, มึง" ตามคำสูงและต่ำ, แต่ใน ภาษาบาลีไม่มีคำสูงคำต่ำอย่างนี้ ใช้ ตุมห ศัพท์อย่างเดียว ต่าง กันแต่มาตราว่าวิภัตติและวจะเท่านั้น ศัพท์ที่ ๓ นั้น เป็น อุตตมปุริส หรือ อุตตมบุรุษ ชายสูงสุด สำหรับใช้ออกชื่อผู้พูด เช่นคำในภาษาของเราว่า "ฉัน, ข้า, กู" ตามคำที่สูงและต่ำ แต่ ในภาษาบาลีไม่มีคำสูงคำต่ำอย่างนี้ ใช้ อมห ศัพท์อย่างเดียว ต่าง กันแต่สักว่าวิภัตติและวจนะเหมือน ศัพท์เท่านั้น. ดุมห ๆ อมห ตุมห และ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More