ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๑ - บาลีไวยากรณ์ วากยสัมพันธ์ - หน้าที่ 244
อเปกขัตถนิบาต
๒. นิบาตเพ่งนามอื่นด้วย เรียกชื่อว่า อุเปกฺขตโถ, ตรงต่อ
นิบาตไทยว่า แม้, ถึง, นิบาตนี้ใช้ ปี หรือ อป. อุ, โย ปน
ภิกขุ สัญจิจจ มนุสฺสวิคคห์ ชีวิตา โวโรเปยย----อยมปิ ปาราชิโก
โหติ อสวาโส. ปิ ศัพท์ในอุทาหรณ์นี้แสดงว่า ใช่จะต้องปาราชิก
แต่ ๒ รูปเท่านั้นหามิได้, ถึงรูปนี้ก็ต้องเหมือนกัน
๓.
สัมภาวนัตถ และ ครหัตถนิบาต
นิบาตที่ใช้ชม เรียกชื่อว่า สมภาวนาโก, ที่ใช้ติ เรียก
ชื่อว่า ครหตุโถ, ตรงต่อนิบาตไทยว่า แม้, ถึง, นิบาตนี้ใช้ ปี
หรือ อปิ. อุ. (ชม) อย ชาติสมปนโนปิ มานิ น กโรติ (ติ)
อย ทลิทโทปิ ปมาณิ น ชานาติ
ปทปูรณนิบาต
๔. นิบาตที่ไม่ได้หมายความอะไร เป็นแต่พอให้อักขระใน
บาทแห่งคาถาเต็มตามกำหนดก็ดี พอให้คำไพเราะสละสลวยขึ้นก็ดี
เรียกชื่อว่า ปทปุรโณ บ้าง วจนาลงกาโร บ้าง วจนสิลิฏฐิโก บ้า
ตามอรรถที่กล่าวแล้วโดยลำดับ ตรงต่อนิบาตไทยอย่างหร และ
อะไรบ้าง จงดูในวจีวิภาคส่วนอัพยยศัพท์ ที่ว่าด้วยนิบาตสักว่าเป็น
เครื่องทำบทให้เต็ม [๕๒] เถิด. จะแสดงอุทาหรณ์พอเป็นตัวอย่าง