ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๑ - บาลีไวยากรณ์ วากยสัมพันธ์ - หน้าที่ 236
กับบทที่มีวิภัตติเสมอกัน เรียกว่า ปทสมุจจโย, ในอรรถนี้ ใช้
นิบาติคือ จ เป็นพื้น เรียกชื่อว่า สมุจจยตฺโถ ตรงต่อนิบาติไทย
ที่ใช้ในระหว่างพากย์หรือบทว่า กับ, และ ที่ใช้ข้างท้ายพากย์
หรือบทว่า ด้วย, หนึ่ง, มีอุทาหรณ์วากยสมุจจยะดังนี้: ทานญฺจ
ทสฺสาม ธมฺมญฺจ โสสฺสาม, ปทสมุจจยะดังนี้: เทสนาวสาเน
กุมาโร จ กุมาริกา จ โสตาปนนา อเห, ติสฺโส เวทนา:
สุขญจ ทุกฺขญจ อทุกขมสุขญจ, ในอรรถนี้ ใช้ วา (บ้าง) ปี
(ทั้ง) บ้าง ห่าง ๆ, อุ, ธมฺม วา วินย์ วา ปริยาปุณิสสาม
สุตาวา อริยสาวโก รูปสม ปิ นิพพินฺทติ ----วิญญาณสมี ปิ
นิพฺพินฺทติ.
สัมปณฑนิบาต
๒. การบวกความท่อนหลัง ๆ เข้ากับความท่อนต้น ๆ เรียก
ว่า สมฺปิณฑน์ ในอรรถนี้ ใช้นิบาตคือ จ เป็นพื้น เรียกชื่อว่า
สมปิณฺฑนตฺโถ, ตรงต่อนิบาตไทยว่า อนึ่ง ซึ่งใช้ต้นพากย์ มี
อุทาหรณ์ดังนี้: อิธ ภิกฺขเว ภิกขุ สีลวา โหติ----ปุน จ ปร
ภิกฺขเว ภิกขุ กลยาณมิตฺโต โหติ ฯเปฯ สัมปิณฑนะนี้ แปลก
จาก วากยสมุจจยะ ด้วยมีกัตตาต่างจากกัตตาในความท่อนต้น