นิสัยและพฤติกรรมของมนุษย์ บ้าน-วัด-โรงเรียน ต้นแบบฟื้นฟูศีลธรรมโลก หน้า 33
หน้าที่ 33 / 140

สรุปเนื้อหา

นิสัยหมายถึงพฤติกรรมที่มีลักษณะติดตัวรวมถึงการทำซ้ำจนเป็นประจำ ซึ่งมีรากฐานจากการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม นิสัยแบ่งเป็นสองประเภทคือ นิสัยดี เช่น ความตรงต่อเวลา และนิสัยไม่ดี เช่น การติดบุหรี่หรือการพนัน ซึ่งทั้งสองชนิดมีผลกระทบต่อชีวิตของบุคคลและผู้รอบข้าง นิสัยดีช่วยให้เกิดความสุขสบายในชีวิต ขณะที่นิสัยไม่ดีมักจะนำมาซึ่งความเดือดร้อน และส่งผลเสียในการใช้ชีวิต การเข้าใจและปรับปรุงนิสัยของตนเองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงการสร้างสังคมที่ดีขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-นิสัยดี
-นิสัยไม่ดี
-พฤติกรรม
-การอบรม
-ผลกระทบของนิสัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ကာ นิสัยคือพฤติกรรมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ๑.พฤติกรรมที่เคยชิน ซึ่งเกิดจากการทำสิ่งหนึ่ง สิ่งใดบ่อยๆ แล้วติด เมื่อติดแล้วถ้าไม่ได้ทำอีกจะรู้สึกไม่ สบายใจ ๒.โปรแกรมประจำตัวที่กำหนดพฤติกรรมทาง กาย วาจา และใจ ของแต่ละบุคคลให้คิด พูด และทำ เช่นนั้นโดยอัตโนมัติ ๓.พฤติกรรมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ขาดสาย ทั้ง ทางกาย วาจา ใจ ของแต่ละบุคคล นิสัยมีทั้งดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับการอบรมฝึกฝนเลี้ยง ดูและสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล นิสัยไม่ดี คือ การคิด พูด ทำ เป็นประจำที่ทำให้ ตนเองหรือผู้อื่น หรือแม้กระทั่งทั้งตนเองและผู้อื่นได้รับ ความเดือดร้อนอยู่เสมอ เช่น นิสัยติดบุหรี่ สุรา ยา เสพติด ติดเที่ยวกลางคืน ติดการละเล่น ติดการพนัน ติดการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ติดเพื่อนชั่ว ติดขี้เกียจ ติดเอา เปรียบ เกี่ยงงาน ติดคดโกง ติดพยาบาท ฯลฯ นิสัยดี คือ การคิด พูด ทำ เป็นประจำที่ทำให้ ตนเองหรือผู้อื่น หรือทั้งตนเองและผู้อื่นได้รับความเย็น กาย เย็นใจ อยู่เสมอ เช่น นิสัยตรงต่อเวลา ประหยัด www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More