ความสงเคราะห์ในสังคม บ้าน-วัด-โรงเรียน ต้นแบบฟื้นฟูศีลธรรมโลก หน้า 54
หน้าที่ 54 / 140

สรุปเนื้อหา

เมื่อเรามีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก จะทำให้เกิดความรู้สึกดีทั้งในผู้ให้และผู้รับ การช่วยเหลือนี้จะสร้างความรักและสามัคคีกันในสังคม และอาจนำไปสู่สงบสุขและสันติภาพในโลก อย่างไรก็ตาม การอบรมให้มีเมตตาเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

หัวข้อประเด็น

-ความช่วยเหลือในสังคม
-เมตตาจิตและการทำทาน
-ผลกระทบของการไม่ช่วยเหลือ
-การสร้างสันติสุขในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๕๔ ๑.เมื่อมีคนตกทุกข์ได้ยากในสังคม หรือเมื่อเราได้ พบเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก ถ้าเราไม่ช่วยเหลือ ย่อม เป็นการเพาะความแล้งน้ำใจทั้งของเราเอง และของ ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ซึ่งจะเป็นเหตุให้ผู้ตกทุกข์ได้ยาก รู้สึกว่า ผู้คนในสังคมแล้งน้ำใจ ไม่มีความเห็นใจ ในที่สุดก็จะ กลายเป็นความรู้สึกชิงชังผู้ที่มีโอกาสดีกว่าตน แม้อยู่ บ้านใกล้เรือนเคียงกัน ก็จะกลายเป็นศัตรูกันโดยปริยาย ๒.สำหรับผู้ให้การสงเคราะห์ย่อมรู้สึกปลื้มใจที่ได้ ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ฝ่ายผู้รับการสงเคราะห์นอกจาก จะรู้สึกมีความสุขขึ้นแล้ว ยังมองเห็นคุณความดีของ เพื่อนมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความรัก สมัครสมานสามัคคีกันในสังคม ย่อมคิดที่จะตอบแทน บุญคุณผู้สงเคราะห์ตนหรือคิดที่จะสงเคราะห์ผู้อื่นโดย ทั่วไป ที่ตกทุกข์ได้ยาก เมื่อตนเองมีความพร้อม สิ่งเหล่า นี้ย่อมก่อให้เกิดสันติสุขขึ้นในสังคม ซึ่งจะกลายเป็น สันติภาพโลกในที่สุด อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ไม่เคยได้รับการปลูกฝัง อบรมให้รู้จักการทำทานมาก่อน คือไม่เคยได้รับการปลูก ฝังให้มีเมตตาจิตมาก่อน ย่อมยากที่จะมีกรุณาจิตที่จะ สงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ยิ่งกว่านั้นบางคนยังถือ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More