ข้อความต้นฉบับในหน้า
៩០
จำไม่ได้ชัดเจนว่าตอนนั้นอาตมาเรียนอยู่ ป. ๔
หรือ ม.ด อาตมาเกิดความคิดแวบขึ้นมาจากวิชาภาษา
ไทยที่ครูประสิทธิ์ประสาทให้ จึงบอกแม่ว่า “ผมรู้แล้ว ชื่อ
เต็มของสิ่งนี้ ไม่ใช่หัวหอม ชื่อเต็มคือหัวที่ช่วยให้ได้
กลิ่นหอม” แต่เรานําเอาค่าหัวกับคำท้ายมาต่อกัน ตัด
คำตรงกลางทิ้งไป จึงเหลือแค่ “หัวหอม” ทำนองเดียว
กับคำว่า “คนใช้” มาจากคำเต็ม ๆ ว่า “คนที่คอยรับ
ใช้" นั่นเอง
บางเรื่องบางอย่างที่ครูสามารถให้เหตุผลได้ ก็ต้อง
ให้เหตุผลกัน การให้เหตุผลเป็นเรื่องของการสอน
ส่วนเรื่องของการสั่ง เป็นเรื่องที่ต้องทํา เป็นเรื่องที่
ต้องจ๋า ซึ่งบางทีอยู่เหนือเหตุผล เช่น ถามแม่ว่า “ทำไม
เกิดแล้วต้องตายด้วย” การตอบคำถามนี้ให้เด็ก ๆ เข้าใจ
เป็นเรื่องยาก แต่ก็อาจจะตอบได้เพียงว่า การตายเป็น
ธรรมชาติอย่างนี้เอง ลูกจำไว้ก็แล้วกัน วันหนึ่งลูกก็ต้อง
ตาย แม่ก็ต้องตาย คงตอบได้แค่นี้ เพราะเขาเป็นเด็ก
เกินกว่าที่จะอธิบายอย่างอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ต้องแยก
ให้ดีระหว่างส่วนที่สั่งกับส่วนที่สอน นี่ในเรื่องวิชาการ
สำหรับในเรื่องของศีลธรรมก็มีทั้งสั่งและสอน สั่ง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปลูกฝังมารยาท เช่น สั่งให้นั่งให้
www.kalyanamitra.org