การฝึกสมาธิและการตั้งจิต บ้าน-วัด-โรงเรียน ต้นแบบฟื้นฟูศีลธรรมโลก หน้า 131
หน้าที่ 131 / 140

สรุปเนื้อหา

การฝึกสมาธิให้ตั้งใจที่ศูนย์กลางกาย สร้างบริกรรมภาวนาและนึกถึงดวงแก้วใสตลอดเวลา โดยไม่ต้องตามหานิมิตที่หายไป ควรรักษาความตั้งใจตลอดเวลา สำหรับผู้ที่สนใจปฏิบัติสมาธิเพื่อความสงบใจ แต่ยังคงมีชีวิตอยู่ในสังคม โดยมุ่งหวังที่จะมีความสุขในชีวิตทางโลกมากกว่าจะเข้าถึงนิพพาน สรุปแล้ว การปฏิบัติสมาธิต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและรักษาความตั้งใจต่อไป

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-การตั้งจิต
-การบริกรรม
-นิมิตในการทำสมาธิ
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๑๑ จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้า ออก แต่ประการใด ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ ศูนย์กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบถ ใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึง บริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป ๕. นิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้ว หายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจ ต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อม ปรากฏขึ้นใหม่อีก สำหรับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาเพียงอาภรณ์ ประดับกาย หรือเพื่อเป็นพิธีการชนิดหนึ่ง หรือผู้ที่ ต้องการฝึกสมาธิเพียงเพื่อให้เกิดความสบายใจ จะได้ เป็นการพักผ่อนหลังจากการปฏิบัติหน้าที่ภารกิจประจำ วัน โดยไม่ปรารถนาจะทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ ยังคิด อยู่ว่าการอยู่กับบุตรภรรยา การมีหน้ามีตาทางโลก การ ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสาร เป็นสุขกว่าการเข้านิพพาน www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More