การสั่งสอนวิชาการและศีลธรรม บ้าน-วัด-โรงเรียน ต้นแบบฟื้นฟูศีลธรรมโลก หน้า 87
หน้าที่ 87 / 140

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจการสั่งสอนวิชาการและศีลธรรมในระบบการศึกษา โดยแบ่งออกเป็นสองสายหลัก การสอนวิชาการเน้นความรู้และทักษะ และการสอนศีลธรรมมุ่งเน้นการปลูกฝังนิสัยและพฤติกรรม การประเมินผลจะต้องเกิดจากการสังเกตพฤติกรรมจริง ไม่ใช่จากการสอบข้อเขียน เช่น การดูว่ามีนิสัยรักความดีและรังเกียจความชั่วจริงหรือไม่

หัวข้อประเด็น

-การสอนวิชาการ
-การสอนศีลธรรม
-การประเมินผลเชิงพฤติกรรม
-การปลูกฝังนิสัย
-ความสำคัญของศีลธรรมในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๘๗ ตาม ๑.สั่งสอนวิชาการต่างๆ ๒.เป็นต้นแบบของศีลธรรมให้ลูกศิษย์นำไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตามในเรื่องการสั่งสอน ยังต้องแบ่งออก เป็น ๒ สาย สายหนึ่งคือสายวิชาการ อีกสายหนึ่งคือ สายศีลธรรม ในเรื่องวิชาการ ก็ต้องทั้งสั่งทั้งสอน ใน เรื่องศีลธรรมก็ต้องทั้งสั่งทั้งสอน แต่ว่าผลลัพธ์ที่ได้ย่อม ไม่เหมือนกัน ในเรื่องวิชาการเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจเป็นหลัก ส่วนทักษะในการทํางานตามสาย วิชาการนั้น ๆ ก็จำเป็นต้องมีภาคปฏิบัติ เพื่อให้สามารถ นําไปใช้ทํามาหากินได้ สําหรับในเรื่องศีลธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปลูก ฝังนิสัย เพราะฉะนั้นการวัดและประเมินผลทางศีลธรรม นั้น จะวัดและประเมินผลด้วยการสอบข้อเขียนไม่ได้ แต่ ต้องวัดและประเมินผลด้วยการสังเกตความประพฤติ คือ ต้องไปดูให้เห็นการกระทำนั้น ๆ ว่ากลายเป็นนิสัยประจำ ตัวแล้วหรือไม่ มีนิสัยรักความดี รังเกียจความชั่วเป็นชีวิต จิตใจจริงหรือไม่ ไม่ใช่รู้ได้ด้วยการสอบข้อเขียน พระภิกษุบางรูปที่สามารถท่องพระไตรปิฎกได้หมด ตู้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความประพฤติของท่านจะ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More