สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑-๑๐ หน้า 14
หน้าที่ 14 / 53

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการหยุดใจในการเข้าถึงความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม โดยอธิบายถึงการรวมใจกายและการใช้วิธีการภาวนาเพื่อทำให้ใจหยุดนิ่ง ซึ่งเป็นสำคัญในการบรรลุธรรมชาติของชีวิตและนำไปสู่ความสงบสุข สถานที่ที่ถูกตั้งว่าเป็น 'กลางกาย' เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรมเมื่อต้องการเข้าถึงความเป็นหนทางที่แน่นอนในการออกจากทุกข์ โดยปรมาจารย์ได้ใช้คำอธิบายและการตั้งใจภาวนาเพื่อนำผู้ฟังให้เข้าถึง 'ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน' หรือ 'ดวงปฐมมรรค' ซึ่งถือเป็นเส้นทางเดียวที่ไม่ซ้ำกันในทุกคนที่ปรารถนาสู่การเข้าถึงนิพพาน

หัวข้อประเด็น

-การหยุดใจ
-การนั่งสมาธิ
-ความสำคัญของดวงธรรม
-ทางเข้าสู่นิพพาน
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ความเห็น อยู่ที่ท่ามกลางกาย ความจํา อยู่ที่ท่ามกลางเนื้อหัวใจ อยู่ที่ท่ามกลางดวงวิญญาณ ความคิด อยู่ทีท่ามกลางดวงจิต ความรู้ ใจเป็นของลึกซึ้ง เวลาเรานั่งอยู่ที่นี่ ใจสอดไปถึงบ้าน นรก สวรรค์ นิพพานก็ได้ ถ้าว่ารู้แคบ ก็สอดไปได้แคบ รู้กว้างสอดไปได้กว้าง ถ้ารู้ละเอียดหรือหยาบก็สอดไปได้ แล้วแต่ความรู้ความเห็น ของมัน เราต้องรวมใจ ให้เห็น จำ คิด รู้ หยุดเป็นจุดเดียวที่กลางกายมนุษย์ ตรงตำแหน่งสะดือทะลุ หลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กข้างใน ที่ขึงด้าย ตัดกันเหนือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ตรงนั้นเป็นที่ตั้งดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ที่สอนให้เอาพระของขวัญไปจรดที่กลางดวงนั้น ที่เขาบอกว่า ตั้งใจจะทำบุญทำกุศล เราจะ รักษา ศีลเจริญภาวนา ต้องเอาใจหยุด ตรงกลางนั้น เมื่อเอาใจหยุดได้ ใช้สัญญาจำให้มั่นหยุดนิ่งบังคับ เชียว ถ้าไม่นิ่งใช้บริกรรมภาวนาบังคับไว้ “พอใจหยุดเท่านั้นถูกตัวสมถะแล้ว หยุดนั่นแหละเป็นตัวสมถะ หยุดนั้นเอง เป็นตัวสำเร็จ ทั้งทางโลกและทางธรรมสำเร็จหมด โลกจะได้รับความสุขใจ ต้อง หยุดตามส่วนของโลก ธรรมจะได้รับความสุข ต้องหยุดตามส่วนของธรรม ท่านได้แนะนำไว้ตามวาระพระบาลีว่า “นตฺถิ สนฺติปร์ สุข์ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี” หยุดนั้นเป็นตัวสำคัญ เมื่อใจหยุด เราก็ต้องหยุดในหยุด หยุดในหยุดอยู่นั่นเอง ไม่มีถอย หลังกลับ และใจที่หยุดต้องถูกกลาง จึงจะถูกสิบ พอถูกสิบก็จะเข้าถึงศูนย์ ดังโบราณว่า “เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา เที่ยงแท้แน่นักหนา ตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ จุติแล้ว ปฏิสนธิ ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น สังขาราไม่ยืนยิน ราศีสิ้นเป็นตัวมา โลกกับธรรมอาศัยกัน ทางโลก สัตว์โลกมาเกิดในโลกได้ ต้องอาศัยสิบแล้วตกศูนย์ ทางธรรม ไปนิพพานก็ต้องอาศัย สิบ-ศูนย์ เข้าสิบ คือใจหยุดแล้วเห็น “ศูนย์” คือ เห็นดวง ใสเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ผุดขึ้น เรียก “ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” (ดวงปฐมมรรค) เป็น หนทางเบื้องต้นทางเดียวของมรรคผลนิพพาน จึงเรียกอีกชื่อว่า “เอกายนมรรค” แปลว่า หนทางเอก ไม่มีสอง พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ จะเข้าสู่นิพพาน ไปทางนี้ทางเดียวไม่ซ้ำกัน ไม่มีทางแยก แต่ว่า การไปบางท่านเร็ว บางท่านช้า ถึงได้ชื่อว่าไม่ซ้ำกัน แล้วแต่นิสัยวาสนาที่สั่งสมอบรมไว้ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดถูกส่วนเป็นดวงใส หรือดวงปฐมมรรค หยุด ในหยุด กลางของหยุดเข้าไปเรื่อยๆ จะเป็นดวงเป็นลำดับ อีก ๕ ดวง คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวง ปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More