ข้อความต้นฉบับในหน้า
40
สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
ผู้สำรวมตา หู จมูก ฯลฯ ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งสิ้น ย่อมหลุดพ้นจาก
ทุกข์ ทั้งปวง
ขันธ์ทั้ง ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบกหนักแล้ว ยังอวดดีไปแบกของ
คนอื่นอีก หญิงก็ดีชายก็ดีแอบไปแบกอีก ๕ ขันธ์รวมของตัวเป็น ๑๐ ขันธ์ หนักเข้าหลุดออกมาอีก ๕
ขันธ์ เป็น ๑๕ ขันธ์ นานๆ หลายๆ ปีก็มาอีก เป็น ๒๕ ขันธ์ หรือสมภารแบกตั้งพันขันธ์ (สมภาร
แปลว่า หนักพร้อม) พ่อบ้าน แม่บ้าน พ่อครัว แม่ครัว ที่ทุกข์ยากลำบากเพราะแบกขันธ์ทั้งนั้น
ถ้าปล่อยได้ เป็นสุขแท้ๆ
วิธีปล่อยขันธ์ ๕
ทางปริยัติ ต้องรู้จักขันธ์ ๕ จริงๆ ว่า คือ อะไร
องค์ประกอบของขันธ์ ๕ โดยย่อ ได้แก่ :-
๑. รูป คือ ร่างกาย ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ
๒. เวทนา เป็นดวง สุขเวทนา ก็ใส ทุกขเวทนาก็ขุ่น
๓.
สัญญา ความจำ เป็นดวงต่างกัน ดี ชั่ว หยาบ ละเอียด เลว ประณีต
๔. สังขาร เป็นดวงคิดดี คิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว
๕. วิญญาณ ความรู้ ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน
การปล่อยวางขันธ์ ๕ ทำไม่ง่าย ปล่อยไม่เป็น ปล่อยได้ยาก เหมือนเด็กกำไฟปล่อยไม่เป็น
ยิ่งร้อนยิ่งกำไฟแน่น
พวกไม่ปล่อยวางขันธ์ ๕ มี ๒ ประเภท
๑. พวกที่ปล่อยวางไม่ได้ มี ๒ แบบ
๑.๑ พวกที่ไม่อยากปล่อย รู้แล้วว่าปล่อยวางอย่างไร แต่ไม่ยอมปล่อย ไม่อยากปล่อย เพราะ
เสียดายขันธ์ อยากจะได้ขันธ์ ๕ มากขึ้น เหมือนพรานติดเบ็ด ถ้าปลาเล็กๆ พอปล่อยได้ ถ้าปลาใหญ่
เสียดายต้องใส่เรือไป
๑.๒ พวกที่ปล่อยไม่ได้ รู้และอยากจะปล่อย แต่เครื่องติดมี ปล่อยไม่ถนัด เหมือนนกติด
แร้ว ได้แก่ ผู้ครองเรือนอย่างเราๆ ที่มีความรับผิดชอบอยู่
๒. พวกที่ปล่อยวางไม่เป็น
คือพวกที่ไม่ได้เล่าเรียน ไม่ได้ฟังธรรม ขาดการฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ หรือของ
พระพุทธเจ้า
หลักในการทำความสำรวม เพื่อละเบญจขันธ์เบื้องต้น
๑. พิจารณาว่าเป็นของไม่ดี ไม่งาม เป็นของหนักจริงๆ
๒. สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มา
กระทบ ไม่ให้ความชอบไม่ชอบกระทบได้