ความนอบน้อมพระรัตนตรัย ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑-๑๐ หน้า 30
หน้าที่ 30 / 53

สรุปเนื้อหา

ความนอบน้อมพระรัตนตรัยเป็นการแสดงความเคารพที่มีความสำคัญในพระพุทธศาสนา ในการแสดงออกถึงความนอบน้อมในสามด้าน ได้แก่ กาย วาจา และใจ โดยระบุวิธีการและรูปแบบที่เหมาะสมในการแสดงความเคารพทั้งในขณะที่มีพระองค์และหลังเสด็จดับขันธ์ รวมถึงความเข้าใจที่ถูกต้องในการนอบน้อมกับพระรัตนตรัย เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจและจิตใจที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคฤหัสถ์และบรรพชิตในกิจกรรมทางศาสนา.

หัวข้อประเด็น

- ความนอบน้อมพระรัตนตรัย
- วิธีการนอบน้อมด้วยกาย
- นอบน้อมด้วยวาจา
- นอบน้อมด้วยใจ
- พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

18 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ៣ รตนัตตยคมนปณามคาถา (ความนอบน้อมพระรัตนตรัย) 5 มีนาคม ๒๔๙๒ นโม..... อิจฺเจต์ รตนตฺตย์..... ความนอบน้อมพระรัตนตรัย ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต และถึงเป็นที่พึ่ง โดยย่อ “นโม” แปล ว่า นอบน้อม ๑. นอบน้อมด้วยกาย ๑.๑ เมื่อมีพระชนม์อยู่ ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คอยฟังพระโอวาทานุสาสนี้อย่างตั้งใจ ไม่เปล่งวาจารบกวน ไม่นั่งใกล้และเหนือลม จะเป็นที่รำคาญพระนาสิก ไม่นั่งไกลให้ต้องตะเบ็ง ไม่นั่งตรง หรือหลังนัก ทำให้ต้องหันพระพักตร์มากไป ๑.๒ เมื่อเสด็จดับขันธ์แล้ว ในเขตเจดีย์ทั้ง ๔ ได้แก่ บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ - ลดร่มลง ห่มลดไหล่ - ถอดรองเท้า - ไม่ส่งเสียงดังและขาดความเคารพ ไม่ทิ้งของสกปรก เมื่อเห็นว่ารกให้ปัดกวาด ทำความสะอาด - ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ๒. นอบน้อมด้วยวาจา นำเรื่องพระรัตนตรัยไปสรรเสริญอยู่เนืองๆ ๓. นอบน้อมด้วยใจ คิดถึงพระรัตนตรัยอยู่เนืองๆ ไม่ให้ใจไปจรดกับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก หมั่นประคอง ใจ ให้จรดอยู่กับพระรัตนตรัย คฤหัสถ์ และบรรพชิต ในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง ต้องนอบน้อมให้ครบถ้วน ถูกพระรัตนตรัย ทั้งสามกาล ด้วยการกล่าวคำว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More