ข้อความต้นฉบับในหน้า
34 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
ปรมัตถ์ : อกุศลจิต
๓
(อกุศลจิต ๑๒ ดวง)
๑ ตุลาคม ๒๔๙๖
นโม.....
ตตฺถ วุตตาภิธมฺมตฺถา.....
พระพุทธศาสนามีปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก (อภิธรรมปิฎก)
พระพุทธเจ้าทรงเทศน์พระปรมัตถ์ครั้งแรกที่ดาวดึงส์ ถวายพระพุทธมารดาและหมู่เทวดา เป็น
เวลา ๓ เดือน ในเวลารุ่งเช้า เมื่อพระองค์เสด็จบิณฑบาตและเสวยในป่าหิมพานต์ ทรงแสดงพระ
ปรมัตถ์นี้แก่พระสารีบุตรที่ปฏิบัติพระองค์ในป่าหิมพานต์ทุกวัน เพื่อพระสารีบุตรจะได้นำมาเทศน์
ให้มนุษย์ฟัง
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเทศน์พระปรมัตถ์จบ เสด็จลงจากดาวดึงส์ที่เมืองสังกัสนคร ทรงเปิดโลก
ให้สัตว์นรก เทวดา มนุษย์เห็นกันและกันพร้อมกัน ในคราวนั้นสรรพสัตว์ตั้งความปรารถนาเป็น
พระพุทธเจ้า แม้กระทั่งมดดำ มดแดง
“ไม่ใช่เป็นของง่าย ถ้าจะเทียบละก็ ต้องเข็มเล็กๆ ด้ายเส้นเล็กๆ เย็บตะเข็บ
ผ้าจึงจะละเอียดได้ ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้ฉันใด
ก็ดี ปรมัตถปิฎกเป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน จึงจะฟังเข้าเนื้อ
เข้าใจ”
“คัมภีร์ปรมัตถ์นี่เป็นหลัก เป็นประธาน ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ”
เนื้อความในพระปรมัตถ์จัดเป็น ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิต เป็นดวง จำแนกออกไปถึง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง ถ้าแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง ๕
เจตสิก จําแนกออกไปถึง ๕๒ ดวง
รูป จำแนกออกไปถึง ๒๘ รูป (มหาภูต ๔ อุปาทยรูป ๒๔)
นิพพาน ๓ (คือ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน)
หลวงพ่อวัดปากน้ำได้แสดงตัวอย่างเรื่องอกุศลจิต ๑๒ ดวงเอาไว้ดังต่อไปนี้
ในจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น มีอกุศลจิต ๑๒ ดวง อันเป็นต้นเหตุให้บุคคลทั้งหลายทำชั่ว
“อกุศลจิต ๑๒ ดวง” แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก คือ
จิตโลภ ๘ ดวง
จิตโกรธ ๒ ดวง
จิตหลง ๒ ดวง
จิตโลก มี ๘ ดวง
จิตโลภดวงที่ ๑ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก มีความเห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง ไม่มี
ใครกระตุ้น ไม่ว่าในที่ลับหรือที่ใดๆ