พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และแนวทางบูชาธรรม ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑-๑๐ หน้า 27
หน้าที่ 27 / 53

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) โดยเน้นความสำคัญของการบูชาอันเป็นการปฏิบัติจริงมากกว่าการบูชาด้วยเครื่องสักการะ การเอาใจใส่ในการทำสมาธิภาวนาและการศึกษาหมายถึงการพัฒนาตนเองเพื่อเข้าถึงธรรม ส่วนของรัตนะที่สำคัญในพระพุทธศาสนา รวมถึงลักษณะและประเภทของพระพุทธเจ้าในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

- แนวทางปฏิบัติตามพระโอวาท
- ความสำคัญของการบูชา
- การทำสมาธิภาวนา
- รัตนะในพระพุทธศาสนา
- ประเภทของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 15 ๔. อนุตตร์ ปุญญเขตต์ โลกสฺส เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ ไม่มีอื่นจะดีกว่าอีกแล้ว แม้กาลเวลาผ่านมานาน ก็ไม่มีอะไรเป็นข้อห้ามว่า ผู้ที่ปฏิบัติตามจะไม่ได้รับผลอย่างที่ท่าน ได้รับ นอกจากคำกล่าวอ้างของคนเกียจคร้าน คำว่า “อกาลิโก” เป็นหลักฐานยืนยันว่า ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมของพระองค์ ย่อมจะเกิดผลทุกเมื่อ ดังนั้นปัญหาจึงเหลือว่า พวกเราจะปฏิบัติจริงหรือไม่เท่านั้น ดังพรรณนามานี้ พึงระลึกว่าพระโอวาทในเรื่องบูชา พระองค์สรรเสริญ “ปฏิบัติบูชา” มาก กว่า “อามิสบูชา” (บูชาด้วยเครื่องสักการะ) อย่าเพียงแต่ท่องจำ อิติปิโส ภควา....หรือเพียงแต่ระลึกถึงพระคุณเหล่านี้ แต่ให้มุ่งอิทธิบาท ๔ ปักใจ บากบั่น วิจารณ์ และทดลอง โดยเฉพาะในการบำเพ็ญสมาธิภาวนา ว่าด้วยรัตนะ “รตนตฺตย์” แปลว่า หมวดสามแห่งรัตนะ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ประเสริฐ กว่าสวิญญาณกรัตนะในไตรภพ เพราะเป็นของทำความดีให้แก่โลกทั้งสาม กามโลก มีรัตนะ คือ เพชร แก้ว ทั้งเป็นและตาย “แก้วเป็น” ที่เป็นรัตนะเจ็ดของจักรพรรดิ รูปโลก มีรัตนะให้แสงสว่างในโลกของเขา อรูปโลก มีรัตนะให้แสงสว่างในโลกของเขา รัตนะ จึงเป็นของทำความยินดีและปลื้มใจแก่มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ได้เท่ากำลัง ของรัตนะนั้นๆ “รัตนะเป็น” ทำให้มีขึ้นได้ด้วยความเพียร ระวังกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ทวีขึ้น อย่าหยุด จน เห็น “ศูนย์” ที่กลางตัวเหนือสะดือ ๒ นิ้วมือ เรียก “ดวงปฐมมรรค” มีขนาดต่างๆ กัน โตไม่เกิน ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เล็กไม่เกินดวงตาดำข้างใน ให้หมั่นเอาใจจรดอยู่ที่ดวงนี้ ในอิริยาบถทั้งสี่เท่านั้น ใจหยุดกลางดวงปฐมมรรค จะเข้าถึงกายในกายตามลำดับ “หยุดให้มากที่สุดก็เจริญที่สุด หยุดต้องมีกลเม็ด หยุดดับหยาบไปหา ละเอียดร่ำไป ไม่ใช่หยุดแล้วไม่ทำอะไร ทำหยุดในหยุดนั่นแหละหนักขึ้นทุกที ไม่มีเวลาหย่อนจึงจะเจริญถึงที่สุดเร็ว” แล้วจะเข้าถึงธรรมกาย เป็นกายสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ผู้ใดทำกายนี้ได้ได้ชื่อว่าเป็น อนุ พุทธเจ้า ตามพระพุทธเจ้า - พระพุทธเจ้า มีหลายจำพวก - สัพพัญญูพุทธเจ้า - ปัจเจกพุทธเจ้า - สาวกพุทธเจ้า สุตพุทธเจ้า - พหูสุตพุทธเจ้า อนุพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More