ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 39
๑๐
การสุตตคาถา ๑
๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖
นโม.....
ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา.....
ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระอันหนัก หนักตั้งแต่อยู่ในท้องมารดา โตขึ้นก็เป็นกายหนักขึ้น ไปไหน
มาไหนไม่รวดเร็ว ต้องไปตามกาลของขันธ์ ต้องลำบากในการบริหารและรักษาจนกว่าจะตาย
แม้ไปเกิดเป็นเทวดา พรหม อรูปพรหม สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกายก็ยังมีขันธ์
๕ เป็นภาระอันหนักทั้งนั้น
ท่านจึงได้ยืนยันตามพระบาลีว่า ภารา ทเว ปญฺจกฺขนฺธา ฯ
ขันธ์ทั้ง ๕ นี้เป็นของหนัก การถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ในโลก การทิ้งภาระที่หนักนั้น ได้
ชื่อว่า เป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้ หมดกระหายไปนิพพานได้
หมดทั้งสากลโลก เอาขันธ์ ๕ ของตัวเองไปไม่ได้ แม้ไม่ทิ้ง ถึงเวลาตาย ก็เอาไปไม่ได้ แม้ของ
คนอื่นๆ ก็เอาไปไม่ได้
“ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตาย ตายคนเดียว เกิด เกิด
คนเดียว เราอยู่คนเดียวนะนี่นะ ไม่ได้อยู่หลายคน อยู่กี่คนก็ช่าง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียว
ตายคนเดียวทั้งนั้น จะแฝดหรือจะติดกันอย่างไรก็ตามเถิด คนละจิตคนละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา
ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด”
ดังนั้น จึงต้องรู้จักการถอดขันธ์ ๕ วางขันธ์ ๕
ผู้ที่จะถอดวางขันธ์ ๕ ต้องตั้งอยู่ใน “สังวรกถา” ต้องอาศัยความรู้ความเห็นแยบคาย ต้อง
ละทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้นๆ
ผู้ที่เห็นอารมณ์งามใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
มีความเกียจคร้าน
อยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงรังเกียจ
มีความเพียรเลวทราม
“มารย่อมประหารบุคคลนั้นได้ เหมือนลมประหารต้นไม้อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น”