สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑-๑๐ หน้า 26
หน้าที่ 26 / 53

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สอนเกี่ยวกับความเป็นมาของพระอริยบุคคลที่บำเพ็ญกิจถูกส่วนและการเข้าถึงกายต่างๆ จนถึงกายธรรม ขั้นตอนการเข้าฌานและการละกิเลส รวมถึงหกคุณสมบัติของพระอริยบุคคลที่ควรสักการะและเคารพ การละสังโยชน์และการปฏิบัติที่มุ่งสู่พระนิพพาน สรุปว่าพระอริยบุคคลเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมในการนำทางสู่ความหลุดพ้น

หัวข้อประเด็น

-บำเพ็ญพระธรรมเทศนา
-การเข้าฌาน
-ธรรมกาย
-อริยบุคคล
-การละกิเลส
-คุณสมบัติของพระอริยบุคคล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

14 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา พระอริยบุคคล บำเพ็ญกิจถูกส่วน เห็นดวงใส เข้าถึงกายต่างๆ จนถึงกายธรรมเป็นชั้นๆ ไป เมื่อดวงธรรมกายมนุษย์ขยายออก ได้ปฐมฌาน กายธรรมเข้าปฐมฌาน ใจธรรมกายน้อมไปใน ละเอียดขึ้น เกิดฌานใหม่เป็นลำดับ จนถึงฌานที่ ๔ เรียกเข้าฌานโดยอนุโลม แล้วย้อนกลับจับแต่ฌาน ที่ ๘ ถอยหลังมา ๑ เรียกปฏิโลม ทำดังนี้ ๗ หน ธรรมกายอยู่บนฌานที่ ๔ ตั้งแต่ ๑ - ๘ ตาธรรมกายดูอริยสัจ ๔ ถูกส่วนเข้าธรรมกายก็ตก ศูนย์ เป็นดวงใส ศูนย์นั้นกลายเป็นธรรมกายพระโสดา ธรรมกายโสดาเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจ ๔ ในกายทิพย์ ตกศูนย์ เป็นพระสกิทาคามี ธรรมกายสกิทาคามีเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจ ๔ ในกายรูปพรหมตกศูนย์ เป็นพระอนาคามี ธรรมกายอนาคามีเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจ ๔ ในกายอรูปพรหม ตกศูนย์ เป็นพระอรหัต ขั้นพระโสดา ละกิเลสได้ ๓ คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ละได้เพราะพิจารณาเห็นว่าสังขารเป็นเรือนอาศัยชั่วคราว แต่ธรรมกาย เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ๒. วิจิกิจฉา เพราะเข้าถึงธรรมกาย ถอดกายที่เป็นโลกีย์ได้เป็นพระรัตนตรัยแล้ว ๓. สีลัพพตปรามาส เมื่อเป็นพระรัตนตรัย ท่านไม่ยึดมั่นศีลและวัตรนอกศาสนาแล้ว ขั้นพระสกิทาคา ละเพิ่มอีก ๒ คือ ๑. กามราคะ ได้แก่ ความกำหนัดยินดีในวัตถุกาม และกิเลสกาม ๒. พยาบาทอย่างหยาบ ได้แก่ การผูกใจโกรธ พระอนาคามี ละกามราคะ พยาบาทอย่างละเอียด พระอรหัต ละกิเลสทั้ง ๕ ดังกล่าวได้โดยสิ้นเชิง และสังโยชน์เบื้องบน ๕ คือ ๑. รูปราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในรูปฌาน ๒. อรูปราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในอรูปฌาน ๓. มานะ คือ ความถือตน ๔. อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน ๕. อวิชชา คือ ความมืด ความโง่ ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของสังขาร ไม่รู้ปฏิจจ สมุปบาทธรรม และอริยสัจ จึงรวมเป็น ๑๐ ประการที่พระอรหัตละได้ พระอริยบุคคลจึงเป็นผู้ที่ :- ๑. สุปฏิปันโน ท่านปฏิบัติดีแล้ว คือ ปฏิบัติตามแนวมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลาง ตามที่พระบรมศาสดาดำเนินมาแล้ว ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป ๒. อุชุปฏิปนฺโน ปฏิบัติแล้วตรง คือการปฏิบัติมุ่งตรงสู่พระนิพพาน ไม่วอกแวกไปทางอื่น ๓. ญายปฏิปนฺโน ปฏิบัติมุ่งเพื่อรู้ธรรมที่จะออกจากภพ ๓ โดยแท้ ๔. สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติอย่างดีเลิศ เพราะท่านปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงนิพพานจริงๆ ๕. อาหุเนยโย จึงเป็นผู้ควรเคารพสักการะ 5. ปาหุเนยโย จึงเป็นผู้ควรต้อนรับ ๗. ทักขิเณยโย จึงเป็นผู้ควรรับของที่เขาทำบุญ ๔. อญชลีกรณีโย จึงสมควรกราบไหว้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More