ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 3
อาศัยการเข้ากลางดวงต่างๆ 5 ดวง ดังกล่าวจะเข้าถึง ๑๘ กาย ดังต่อไปนี้
๑) กายมนุษย์
๒) กายมนุษย์ละเอียด (เป็นกายฝัน ที่เรามักเห็นเวลาหลับ)
๓) กายทิพย์
๔) กายทิพย์ละเอียด
๕) กายรูปพรหม
5) กายรูปพรหมละเอียด
๗) กายอรูปพรหม
๔) กายอรูปพรหมละเอียด (ถึงแค่กายนี้ เป็นขั้นสมถะ)
๔) กายธรรม
๑๐) กายธรรมละเอียด
๑๑) กายธรรมพระโสดา
๑๒) กายธรรมพระโสดาละเอียด
๑๓) กายธรรมพระสกิทาคา
๑๔) กายธรรมพระสกิทาคาละเอียด
๑๕) กายธรรมพระอนาคา
๑๖) กายธรรมพระอนาคาละเอียด
๑๗) กายธรรมพระอรหัต
๑๘) กายธรรมพระอรหัตละเอียด
กายธรรม เป็นรูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า หน้าตัก
โตเท่าใด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เท่ากัน กลมรอบตัว อยู่กลางกายธรรม ธรรมกายเป็นตัว
พุทธรัตนะ ดวงธรรมนั้นเป็นธรรมรัตนะ
เมื่อถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียดนี้แล้ว หลุดจากกิเลส เสร็จกิจในพระพุทธศาสนา ทั้งสมถะ
และวิปัสสนา
“ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด แค่นั้นเรียกว่าขั้นสมถะ ตั้งแต่
กายธรรมโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด จนกระทั่งกายพระอรหัตทั้งหยาบ ทั้งละเอียด
เป็นขั้นวิปัสสนาทั้งนั้น ที่เรามาเรียนสมถวิปัสสนาวันนี้ ต้องเดินแนวนี้ ผิดแนวนี้
ไม่ได้ และก็ต้องเป็นอย่างนี้ ผิดอย่างนี้ไปไม่ได้ ผิดอย่างนี้ไปก็เลอะเหลว”
เมื่อเข้าถึงกายใดได้ ก็ยึดกายนั้นเป็นแบบต่อๆ ไป จนกระทั่งเข้าถึงกายธรรมอรหัตละเอียด
“จะไปทางนี้ต้องหยุด ทางธรรมเริ่มต้นต้องหยุดตั้งแต่ต้นจนกระทั่งพระ
อรหัต ถ้าไม่หยุดก็ไปไม่ได้ ชัดทีเดียว แปลกไหมล่ะ ทางโลกเขาต้องไปกัน ปราด
เปรียว ว่องไวคล่องแคล่วต้องเล่าเรียนกันมากมาย จนกระทั่งรู้เท่าทันเหลี่ยมคู
ผู้คนตลอดสาย จึงจะปกครองโลกได้ เจริญรุ่งเรืองได้ แต่ว่าจะไปทางธรรมนี่แปลก
หยุดเท่านั้นแหละไปได้ หยุดอย่างเดียวเท่านั้น”