ข้อความต้นฉบับในหน้า
32 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
นี้เป็นถูกมัชฌิมประเทศ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติเป็นกลาง ถึงจะปฏิบัติศาสนาสัก ๕๐ -
๙๐ พรรษา หรือแม้เป็นชายหญิง แต่ไม่ได้เข้าทางนี้ ก็ไม่ถูกหลักพุทธศาสนา
๒.การตั้งตนไว้ชอบ (อตฺตสมมาปณิธิ)
สภาพอันใดรับสุขรับทุกข์ (สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้) สภาพอันนั้นชื่อว่าตน เมื่อรับสุขรับทุกข์อยู่ต้อง
ตั้งตนไว้ชอบ
ตั้งแต่การตั้งตนชอบของกายมนุษย์หยาบ คือ ตั้งตนไว้ในทาน ศีล ภาวนา
การตั้งตนชอบของกายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน) คือ เอากายมนุษย์ละเอียดมาหยุดนิ่งที่
ศูนย์กลางกายมนุษย์หยาบ แล้วหยุดถูกส่วนเป็นลำดับไปถึงกายพระอรหัตละเอียดจึงเรียกว่า
อตฺตสมมาปณิธิ คือ ตั้งตนไว้ชอบ
๓. ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน (ปุพเพกตปุญญตา)
เมื่อตนได้สั่งสมบารมีมาแล้วครบ ๑๐๐,๐๐๐ กัปป์ มาพบพุทธศาสนา อาจได้สำเร็จมรรคผล
เพราะบารมีพอแล้ว
ทำอย่างไรจึงเรียกว่า ปุพเพกตปุญญตา
“ทาน” ชาติก่อนได้ให้ทานตามความสามารถและกำลังอย่างจริงจัง ทำให้เป็นคนมีใจมั่นในการ
ให้ทานในชาตินี้
ให้ของนอกกาย ไม่เหลือไว้เลย เรียก ทานบารมี
ให้เนื้อและเลือด เว้นแต่ชีวิต เรียก ทานอุปบารมี
ให้ชีวิตเป็นทานได้ เรียก ทานปรมัตถบารมี
ให้ลูก เป็นทาน เรียก ปุตตบริจาค
“ศีล” รักษาศีลแน่วแน่ไม่มีเศร้าหมอง
แม้สมบัตินอกกายจะวอดวาย ไม่ยอมให้ศีลขาด เรียก ศีลบารมี
รักษาศีลแม้เลือดเนื้อจะเป็นอันตราย เรียก ศีลอุปบารมี
รักษาศีลแม้ชีวิตจะดับ เรียก ศีลปรมัตถบารมี
“ภาวนา”
ยอมเสียสมบัติภายนอก เว้นไว้แต่ชีวิตและเลือดเนื้อ ไม่ให้เสียภาวนา เรียก ภาวนาบารมี
เนื้อและเลือดจะแห้งเหือดหมดไปก็ไม่ว่า เรียก ภาวนาอุปบารมี
ยอมแม้ชีวิตจะดับไป ก็ไม่ยอมเสียภาวนา เรียก ภาวนาปรมัตถบารมี
สมบูรณ์บริบูรณ์ทั้งทาน ศีล ภาวนา ได้เช่นนี้ เป็นเพราะความดี ที่ทำไว้ในชาติก่อน
การเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ ก็เพราะเป็นผู้สั่งสมความดีไว้ในชาติปางก่อน
ตัวอย่าง : การสั่งสมความดีในชาติปางก่อน จนได้เกิดเป็นกษัตริย์ด้วยการรักษาศีล
ทุคคตะบุรุษ ที่รับจ้างอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี เสร็จจากงานเป็นเวลาเย็น วัน 4
ค่ำ เมื่อทราบว่าคนในบ้านรักษาอุโบสถศีล ก็ขอสมาทานบ้าง แม้ไม่ได้เต็มวัน ตกดึกปวดท้องมาก เศรษฐี