ข้อความต้นฉบับในหน้า
22 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
อุปายาส เพราะความคับแคบใจ
เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน
ฯลฯ
ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่มากระทบทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ล้วนเป็นของร้อนและร้อนเพราะ
สาเหตุเดียวกัน คือ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ชาติความเกิด ชราความแก่ มรณะความตาย โศก
ความแห้งใจ ปริเทวะความพิไรรำพัน ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสียใจ อุปยาสความคับ
แค้นใจ
จึงต้องแก้ไขที่ “สาเหตุ” ต้องแก้ไขทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะทั้ง 5 นั้น
“ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้นดับหมด พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย”
แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรมต่อไปว่า
เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้ได้ฟังแล้ว เมื่อได้เห็นแล้วอย่างนี้
เบื่อหน่ายในตาบ้าง เบื่อหน่ายในรูปบ้าง เบื่อหน่ายในจักษุวิญญาณบ้าง
เบื่อหน่ายในจักขุสัมผัสบ้าง ความรู้สึกอารมณ์
อันนี้เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด
เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้างย่อมเบื่อหน่ายในความรู้นั้น
ฯลฯ
คือ เบื่อหน่ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
เบื่อหน่ายในความรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เบื่อหน่ายในการสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นิพพินท์ วิรชฺชติ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด
พอสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นเกิดความรู้ขึ้นว่า พ้นแล้ว ดังนี้
พระอริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีกแล้ว
ฯลฯ
อาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยของร้อนที่มากระทบอายตนะทั้ง 5 วิธีแก้ก็คือ “ให้ทำใจให้หยุด หยุด
อันเดียวเท่านั้นดับหมด พอหยุดได้เสีย ก็เบื่อหน่าย”
การทำใจให้ “หยุด”
ต้องทำใจหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ใสเหมือนดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งเข้ากลางของ
กลาง ถึงดวงปฐมมรรค ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อเข้า
ถึงกายมนุษย์ละเอียด อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ของกายมนุษย์หยาบหายไปหมด เหลือของ