สาระสำคัญพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับขันธ์ ๕ และหนทางบริสุทธิ์ ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑-๑๐ หน้า 50
หน้าที่ 50 / 53

สรุปเนื้อหา

พระธรรมเทศนาเกี่ยวกับขันธ์ ๕ อธิบายหลักการเชิงธรรมะที่มุ่งเน้นการมองเห็นการเกิดและการดับของชีวิต สิ่งที่สำคัญคือการตระหนักรู้ถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ซึ่งช่วยให้จิตใจไม่ยึดติดและหมดทุกข์ การพัฒนาจิตสู่การเห็นว่าความเกิดนั้นคือทุกข์ตามสภาพอันไม่เที่ยงมีความสำคัญในการเข้าสู่หนทางบริสุทธิ์ หนทางที่รวมการหยุดใจที่ศูนย์กลางดวงธรรมเพื่อเข้าถึงการดับทุกข์ ด้วยความเข้าใจนี้ เราจึงสามารถประกอบความดีเป็นเบื้องหน้า เพื่อตนเองและสังคม โดยพระพุทธศาสนาได้มอบโอวาทที่เข้าใจง่ายให้กับเราในการมุ่งมั่นที่จะทำให้จิตใจบริสุทธิ์เพื่อเข้าถึงการหยุดทุกการยึดถือในขันธ์ ๕ และสิ่งต่างๆ บนโลก

หัวข้อประเด็น

-ขันธ์ ๕
-การเกิดและดับ
-วิชชาธรรมกาย
-หนทางบริสุทธิ์
-การหยุดใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

38 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ขันธ์ ๕ มีแต่เกิด ดับ มนุษย์หมดทั้งสากลโลก ต่างเกิดและดับ จะแก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ เรียนรู้เรื่องเกิดดับนี้ ต้องเรียนวิชชาธรรมกาย พอมีธรรมกาย ก็เห็น เกิดดับ ขันธ์ ๕ ของมนุษย์ และกายต่างๆ ถึงอรูปพรหมละเอียด ซึ่งอาศัยธรรมเหล่านั้น ก็มีเกิดดับ ตามสภาพ มีความยักเยื้องแปรผันเป็นปกติ เราจะทำอย่างไร ถ้าดับแล้วไม่ได้เกิดในที่งดงาม ที่ร่ำรวย เป็นเศรษฐี เป็นคหบดี เป็นกษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คหบดีมหาศาล แต่ไปเกิดที่เลวทราม ดังนั้น เราต้องประกอบความดีไว้ เป็นเบื้องหน้า เพราะสังขารทั้งหลาย มีทั้งบุญและบาป ที่เรียกว่า สังขารปรุงให้เกิด เกิดเป็นสังขารแบบต่างๆ ตาม ๔ กำเนิด ดังกล่าว หนทางบริสุทธิ์ ๓ ขั้น ขั้นที่ ๑ “เมื่อใดเห็นว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์” จิตก็ปล่อยหมด ไม่ยึด มั่นขันธ์ ๕ ไม่ห่วงไม่อาลัย เมื่อเห็นจริงตามนั้น ก็นึกถึงความเกิดดับนั้นทุกอิริยาบถ เกิดความเบื่อ หน่าย ใจก็บริสุทธิ์เป็นหนทางหมดจด ขั้นที่ ๒ “เมื่อใดเห็นว่า ความเกิดนั้นแหละเป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นสุข ก็ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์” สภาพอันไม่เที่ยง นั่นแหละเป็นทุกข์แท้ๆ เพราะเกิดขึ้นเสื่อมไปบีบคั้นอย่างเดียว บีบคั้นให้ สัตว์เดือดร้อนอยู่ด้วยชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ เป็นของทนได้ยาก เมื่อเห็นเช่นนี้ก็ไม่อยากได้เบญจขันธ์ ปล่อยเสีย ไม่ยึดถือ ใจว่างวางเสีย เอาธุระแต่ความบริสุทธิ์ ของใจ เมื่อใจเย็นเป็นสุข ร่างกายก็สบาย สมบูรณ์ เป็นหนทางหมดจดขั้นที่สอง ขั้นที่ ๓ “เมื่อใดเห็นว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว” ต กายมนุษย์และกายต่างๆ ไม่อยู่ในอำนาจของเรา อัตภาพนี้ไม่ใช่ตัว ไม่เป็นไปในอำนาจ แก้ แก่ แก้เจ็บ แก้ตายไม่ได้ ยิ่งพยายามแก้ก็ยิ่งทุกข์ จึงเป็นข้าศึกแก่ตัว เพราะอัตภาพนี้เป็นสภาพว่าง เปล่า ปู่ย่าตายายเรา ตายไปไม่เหลืออะไร ร้อยปีพันปีกระดูกก็หายหมด ไม่มีใครเป็นเจ้าของได้ ธรรมที่ทำให้ เป็นกายนั้นๆ ก็ไม่ใช่ตัว เมื่อใดเห็นเช่นนี้ ก็เบื่อหน่ายในทุกข์ เป็น “หนทางบริสุทธิ์” หนทางบริสุทธิ์มีสายเดียว เอาใจหยุดที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางของกลาง หยุดเรื่อยไป นั่ง นอน ยืน เดิน หยุดตั้งแต่ต้นจนพระอรหัต เรียก “หนทางบริสุทธิ์” “ทำใจหยุดไม่ได้ ก็ไม่พบทางบริสุทธิ์เลย เข้าทางบริสุทธิ์ไม่ถูกเลย หยุด นั่นแหละเป็นเป้าหมายใจดำของพุทธศาสนา” และยังเป็นโอวาทของพระบรม ศาสดาที่ทรงให้นัยแก่องคุลิมาล ว่า “สมณะหยุดแล้ว ท่านไม่หยุด”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More