การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคัมภีร์จีนและบาลี คัมภีร์มิลินทปัญหา: ปริศนาเรื่องกำเนิดและพัฒนาการ หน้า 22
หน้าที่ 22 / 42

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคัมภีร์ภาษาจีนและบาลี โดยยกเหตุผลที่สนับสนุนว่าต้นกำเนิดคัมภีร์มาจากวัฒนธรรมจีน รวมถึงลักษณะการสนทนาในคัมภีร์ที่คล้ายคลึงผลงานของพลโต การผสมผสานของวัฒนธรรมเฮลเลนิสต์ และการใช้ศัพท์ภาษากรีกที่แพร่หลายในยุคนั้น รวมถึงประวัติศาสตร์ของกษัตริย์เมนันเดอรที่ 1 ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของความแตกต่างนี้ โดยจะมีการเสนอข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนข้อต่างแก้เรื่องระหว่างฉบับในลำดับถัดไป.

หัวข้อประเด็น

-ความแตกต่างระหว่างคัมภีร์จีนและบาลี
-การวิเคราะห์ทางวัฒนธรรม
-ศิลปะการสนทนาแบบกรีก
-ศัพท์ภาษากรีกในคัมภีร์
-ประวัติศาสตร์ของกษัตริย์เมนันเดอรที่ 1

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความเป็นไปได้ ส่วนข้อต่างแก้เรื่องระหว่างฉบับ แปลภาษาจีนและภาษาบาลีนี้ ผู้เขียนจะยกไปนำเสนอในลำดับต่อไป เนื่องจากในเบื้องต้นจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างทั้งสองฉบับ หลังจากนั้นจะวิเคราะห์ความเป็นไปได้เรื่องความแตกต่างระหว่างระยะทาง ดังนั้น เมื่อกล่าวโดยย่อ สามารถสรุปเหตุผลของกลุ่มที่เชื่อว่าต้นกำเนิดคัมภีร์มาจากวัฒนธรรมจีนได้ ดังต่อไปนี้ 1. รูปแบบของคัมภีร์ลีนปัญหา มีรูปแบบคล้ายงานสนทนาของพลโตซึ่งเป็นนักปรัชญาชาวกรีก 2. ลักษณะของปัญหาในคัมภีร์ เป็นผลงานของการผสมผสานของวัฒนธรรมเฮลเลนิสต์ เนื่องจากมีการยอมรับรูปแบบการสนทนาแบบกรีกในหลายๆ รูปแบบอย่างชัดเจน 3. ลักษณะของปัญหา มีความคล้ายคลึงกับชุดปัญหาของพระเจ้าปโตเมดที่ 2 หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า สุด อริสเทียส 4. คำศัพท์ โยนกะ ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหาต้น (กัณฑ์ที่ 1-3) เป็นศัพท์ภาษากรีกที่ใช้ในแพร่หลายยุคที่วัฒนธรรมเฮลเลนิสต์รุ่งเรือง คำศัพท์คำนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในยุคนั้นว่า หมายถึงชาวกรีก 5. กษัตริย์เมนันเดอรที่ 1 เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงทางประวัติศาสตร์สิ้นพระชนม์ราว 150-145 ก่อนคริสต์ศักราชและเป็นกษัตริย์ชาวกรีกแท้ 6. ภาษากรีก เป็นภาษาที่รู้จักแพร่หลายในอินเดียในยุคนั้นดังปรากฏในจารึกเสาหินพระเจ้าโศกาจำนวน 2 ตัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More