ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมวาท วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวบรวมที่ 11) ปี 2563
พระพุทธเจ้าได้สิ่งที่ผู้นในยุคนันให้ความสนใจ คือ “อดีต” ของพระศากยมุนี ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น พระพุทธศาสนามีแนวคิดในเรื่อง “สงสารวัฏ” และ “หลักเหตุและผล” เป็นพื้นฐานในการมองโลกและชีวิต ดังนั้น จึงมีแนวความคิดว่า “จะต้องมีอะไรสักอย่างในอดีต- ชาติของพระศากยมุนี” ซึ่งเป็นเหตุในอดีตชาติจ่วงไกล ที่เชื่อมโยงกับวิธีการที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ในพระพุทธศาสนา เราเรียกผู้พระปฎิบัติธรรมก่อนที่จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า หรือผู้ที่บรรลุนะจะเป็นพระพุทธเจ้า ว่า “พระโพธิสัตว์” ซึ่งผู้คนในยุคนั้นได้ค้นหาวิธีการที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าของพระศากยมุนี ในอดีตชาตที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ นั่นเอง
29 ผู้แปล : ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า 輪о (rinne)
30 ผู้แปล : ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า 緑妊 (engi) หมายถึง “ปฏิจจสมุปบาท” บ้าง “อิทธิปัจจยตา” บ้าง “ปัจจยาการ” ซึ่งมี 12 ประการ มืออาชาเป็นต้น มีกรรมะนะเป็นที่สุด แต่ในที่นี้ ผู้เขียนหมายเอา “ความเชื่อโยงของหลักและผล” โดยทั่วไปไม่ได้ระบุชัดลงไปถึงเหตุและผล 12 ประการดังกล่าว
31 ผู้แปล : ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า 途中(eninn)
32 菩萨 (bosatsu) มาจากภาษาสันสกฤตว่า “โพสิตดุว” ซึ่งเป็นคำย่อยของ คำเลียนเสียง (音写 onsha) ที่ว่า 苦摧羅墺 (bodaisatta) แต่เดิมเป็นคำที่หมายเอา “พระศากยมุนี” ที่ปฏิบัติธรรมในอดีตชาติน แต่ต่อมาในภายหลังได้หมายเอาผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงความเต็มเปี่ยม (ผู้ที่ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า) รวมไปถึงผู้ที่เข้าถึงสวรรค์ขั้นสูง เช่น อโลเกตควรโพสิตต์ (観音菩薩 kannon bosatsu) หรือมังสูรโพสิตต์ (文殊菩薩 monju bosatsu) ซึ่งเป็นผู้ที่มีฐานะควรแก่การเคารพศรัทธารองลงมาจากพระพุทธเจ้า