การสร้างบ้านและใจของสถาปนิก แด่นักสร้างบารมี 1 หน้า 12
หน้าที่ 12 / 171

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจขั้นตอนการสร้างบ้านจากการคิดกลางอากาศไปจนถึงการออกแบบจริง โดยกล่าวถึงความสำคัญของความใสของใจในการคิดและการสร้างงานสถาปัตยกรรม ความชัดเจนของภาพในใจส่งผลต่อคุณภาพของงานที่ออกมา หากใจใส ความชัดของภาพในใจจะสูง ทำให้สามารถออกแบบได้อย่างละเอียด ส่วนความไม่ใสอาจส่งผลให้ผลงานเป็นที่น่าพอใจน้อยลง การทำงานอย่างรีบเร่งและการส่งแบบไปพร้อมการก่อสร้างจะส่งผลต่อคุณภาพทั้งหมด ผลงานที่ดีเกิดจากความสำคัญของทั้งใจและการฝึกฝน.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการคิดในใจ
-วิธีการสร้างบ้าน
-ความใสของใจในการออกแบบ
-ผลกระทบของความรีบเร่งในการสร้าง
-การพัฒนาทักษะการออกแบบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

MM ๑๒ แต่... นั ก ส ร้ า ง บ า ร มี ๑ คือ ๑. เริ่มจากคิดกลางอากาศ ๒. นำมาขีดเขียนเป็นรูป ๓. เป็นตัวอาคารอย่างที่เราปรารถนา ทีนี้ถ้าจะถามว่า ทำไมสถาปนิกแต่ละคน คิดช้า คิดเร็วไม่เท่ากัน แม้ที่สุดขั้นตอนการคิดจนกระทั่ง สำเร็จมาเป็นของจริง ก็ช้าเร็วไม่เท่ากัน ปัญหานี้ถ้า ใครยังไม่พบคำสอนในพระพุทธศาสนา จะให้คำตอบที่ ถูกต้องแท้จริงไม่ได้ คำตอบก็คือ เพราะความใสของ ใจแต่ละคนไม่เท่ากัน ใจใครใสมาก ภาพที่คิดกลางอากาศก็ชัดมาก ใจใครใสน้อย ภาพก็ชัดน้อย ใครมีความ ชำนาญ ในการคิดด้วย ก็คิดได้เร็ว ใครไม่ชำนาญ ก็คิดได้ช้า โดยทั่วไป ภาพในใจจะชัดมากชัดน้อย ต่างกันก็ ตรงที่ใจใสหรือใจอุ่น ยิ่งภาพในใจชัดเจนมากเท่าไร ภาพในกระดาษก็จะยิ่งชัดตามมาด้วย งานที่ทำก็จะ สำเร็จได้อย่างละเอียดลออ แต่ถ้าภาพในใจเลื่อนๆ ลางๆ ภาพในกระดาษก็ไม่สามารถให้รายละเอียดได้ งานไหน ถ้ารีบมาก ก็จำเป็นต้องทำการก่อสร้างไปด้วย และแก้ แบบกันไปด้วย ผลงานจึงออกมาหยาบ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More