การฝึกฝนการพิมพ์ดีดและการพัฒนาตนเอง แด่นักสร้างบารมี 1 หน้า 156
หน้าที่ 156 / 171

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงประสบการณ์การฝึกพิมพ์ดีดของหลวงพ่อที่ใช้กระเป๋าเจมส์บอนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะ โดยหลวงพ่อเริ่มฝึกพิมพ์ก่อนที่จะมีเครื่องพิมพ์ดีด และหลังจาก 3 เดือนสามารถพิมพ์ได้ทันทีเมื่อได้เครื่องมา แสดงให้เห็นว่าความจำเป็นในการทำงานสามารถเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะได้ โดยไม่ต้องพึ่งการเรียนการสอนที่เป็นทางการ เสนอแนวคิดว่าปัญญาจะเกิดขึ้นจากการทำงานและไม่ควรหลีกเลี่ยงงานที่ได้รับมอบหมาย

หัวข้อประเด็น

-การฝึกพิมพ์ดีด
-หลวงพ่อธัมมชโย
-การพัฒนาตนเอง
-ปัญญาบารมี
-การทำงานเป็นส่วนสำคัญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

M ๑๕๖ แต่... นั ก ส ร้ า ง บ า ร มี ๑ เครื่องพิมพ์ดีดตัวแรกได้ ตอนนั้นรวบรวมเงินกันอยู่ ๔-๕ เดือน กว่าจะซื้อ ระหว่างที่รวบรวมเงินจะซื้อเครื่อง พิมพ์ติดอยู่นั้น หลวงพ่อยังไม่ได้บวช ก็คิดว่าอย่ากระนั้น เลย เราต้องฝึกพิมพ์ดีดให้ได้ก่อน แล้วจะเอาเวลาที่ไหน มาฝึก หลวงพ่อก็ทำง่ายๆ มีกระเป๋าเจมส์บอนอยู่ใบหนึ่ง รับเขียนรูปแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีดติดไว้ ระหว่างที่ ขึ้นรถเมล์จากวัดปากน้ำมาที่วัดพระธรรมกาย ก็เอา กระเป๋าวางบนหน้าตัก แล้วเริ่มต้นเคาะกระเป๋าแทนแป้น ของเครื่องพิมพ์ดีดไป คนที่นั่งข้างๆ เขาจะคิดอย่างไรก็ช่าง เคาะกระเป๋า มันเรื่อยไป ประมาณ ๓ เดือนล่วงหน้าเห็นจะได้ พอได้ เครื่องพิมพ์ดีดมาวันนั้น ก็พิมพ์สัมผัสได้วันนั้น ไม่ได้ไป เข้าโรงเรียนพิมพ์ดีดที่ไหน เอาความจำเป็นนั่นแหละ มา เป็นพื้นฐานเป็นบ่อเกิดให้ปัญญาบารมีได้งอกเงยขึ้น โถ...จะไปปฏิเสธหลวงพ่อธัมมชโยได้อย่างไรว่า ผมเรียนแต่วิชาเลี้ยงควายมา ไม่ได้เรียนวิชาเลขานุการ มันปฏิเสธไม่ได้ ท่านให้งานอะไรก็เอางานนั้น มาหัดให้ เป็นให้ได้ อย่าไปหนีมัน เพราะปัญญามันจะมาพร้อมๆ กับงาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More