ความอดทนและขันติบารมีในชีวิต แด่นักสร้างบารมี 1 หน้า 160
หน้าที่ 160 / 171

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของความอดทนและขันติบารมีในชีวิต โดยชี้ให้เห็นการลดน้อยลงของขันติบารมีจากความต้องการความสะดวกสบาย และให้คำแนะนำในการพิจารณาความจำเป็นของสิ่งที่ต้องการ เพื่อฟื้นฟูขันติบารมี ภายในชุมชนวัด ความอดทนในระดับสูงคือการไม่ยึดติดกับความต้องการทางวัตถุ และการรักษาความเป็นระเบียบในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับผู้อื่น นี่คือการเรียนรู้ที่จะต่อสู้กับแรงดึงดูดของความสะดวกสบาย ขอบคุณที่ติดตามอ่าน

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของความอดทน
-การตีความขันติบารมี
-การทำงานร่วมกับผู้อื่น
-การพัฒนาตนเอง
-การนั่งสมาธิเพื่อพิจารณา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๖๐ แต่... นั ก ส ร้ า ง บ า ร มี ๑ จะลดน้อยถอยลงแล้ว ไม่ได้เพิ่มพูนขึ้นหรอก สุดท้าย คือ สุดยอดของความอดทน คือความ อดทนต่อความยั่วเย้าเย้ายวน พูดอย่างนี้พวกเราอาจยัง มองไม่ออก เพราะว่าเราพ้นจากเรื่องเย้ายวนทาง โลกมา แล้ว ความอดทนในระดับนี้ของชาววัดก็คือ อดทน ต่อ การตะเกียกตะกาย อยากหาความสะดวกสบายเกินเหตุ ในการทํางานนั่นเอง ไม่ว่าจะไปทำงานตรง ไหน อย่า ตะเกียกตะกายหาความสะดวกสบายเพิ่มขึ้นไม่รู้จบ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากจะรู้ว่าขันติบารมีของเรา มี มากน้อยแค่ไหน ก็สังเกตดู ครั้งใดที่นึกอยากได้ห้องแอร์ อยากได้รถยนต์ อยากได้ความสะดวกสบายต่างๆ โดยไม่ จําเป็นละก็ ฟ้องว่าขันติบารมีของเราหดลงแล้ว ต้องรีบ นั่งสมาธิมากๆ แล้วพิจารณาว่า มันจำเป็นจริงๆ หรือเปล่า ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ไม่ว่ากระไรหรอกนะ หรือครั้งไหนรู้สึก รำคาญเพื่อนที่อยู่กุฏิหลังเดียวกัน เพื่อนที่ทำงานสำนัก เดียวกัน แสดงว่าขันติบารมีหด ลงแล้วนะลูกนะ รีบ พิจารณาแก้ไขตัวเองเร็วๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More