ความอดทนในการสร้างธุดงค์สถาน แด่นักสร้างบารมี 1 หน้า 121
หน้าที่ 121 / 171

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงความสำคัญของการอดทนในการสร้างธุดงค์สถาน และการรับรองจากชุมชนในพื้นที่ การย้ายถิ่นฐานของชาวบ้าน รวมถึงความตั้งใจในการทำงานเพื่อพัฒนาธุดงค์สถานอย่างต่อเนื่อง แม้มีอุปสรรคหรือความกลัวในการตัดสินใจ แต่จิตใจที่ตั้งมั่นทำให้เกิดผลดีในระยะยาวในเรื่องของงานบุญและวิถีชีวิต ชุมชนวัดต่างๆ ที่มีความอดทนและพยายามสร้างต่อเนื่องอาจมีความสำคัญและคงอยู่ตลอดไป

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของความอดทน
-การพัฒนาธุดงค์สถาน
-การย้ายถิ่นฐานของชุมชน
-บทบาทของชุมชนในวัด
-การทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่... นั ก ส ร้ า ง บ า ร มี 4 MM ๑ ๑๒๑ จากวันนั้นถึงวันนี้ ดีที่สุดที่ทำได้ก็คืออดทนกันไป ตั้ง หน้าปรับปรุงพื้นที่สร้างธุดงคสถานเรื่อยไป ขณะนี้ชาว บ้านที่เคยอยู่ในเขตพื้นที่ของวัด ก็ยอมย้ายออกไปหมดแล้ว เลิกเดินขบวนต่อต้านวัด เพราะเห็นความบริสุทธิ์ และ ความตั้งใจจริงของเรา ตอนนั้นถ้าใจคอไม่มั่นคง ไม่อดทนว่าจะแทนคุณ หลวงพ่อธัมมชโย และคุณยายอาจารย์ให้ถึงที่สุด ปฏิเสธท่านเรื่องสร้างธุดงคสถาน หรือขี้แง ขอย้ายไปอยู่ วัดที่บ้านเกิดในจังหวัดกาญจนบุรีเสีย พวกเราที่นั่งกันอยู่ที่นี่ คงไม่มีโอกาสได้มาเจอกัน ใครจะแตกกระสานซ่านเซ็นไป อยู่ขุมไหน ชั้นไหนบ้างก็ไม่รู้ ถ้าถามว่าจริงๆ แล้วกลัวตายไหม กลัวลูกเอ๊ย แต่มันไม่มีทางเลือก มันจําเป็นต้องตัดสิน แล้วก็ตัดใจ รวมทั้งปลอบใจว่า ถึงต้องตายก็ไปดี เพราะมีจิตเป็นกุศล มันก็เลยไม่ตาย แถมได้งานได้บุญอีกพะเรอเกวียนด้วย ผลสําเร็จจากความอดทน วัดใหญ่ๆ ในประเทศไทยที่เขาสร้างต่อเนื่องกันมา แล้ว ๑๐๐ ปีบ้าง ๒๐๐-๓๐๐ ปีบ้าง ก็มีอยู่หลาย วัด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More