ความกตัญญูในชีวิตนักบวช แด่นักสร้างบารมี 1 หน้า 116
หน้าที่ 116 / 171

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์และการทำงานในธุดงคสถานขนาดใหญ่ของนักบวช ซึ่งแสดงถึงความทุ่มเทและความอดทนในการทำงาน แม้จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก พระอาจารย์ได้ใช้วิธีการพูดถึงความดีในอดีตเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นให้กับลูกศิษย์ โดยสะท้อนถึงความสำคัญของการขอบคุณและการรับรู้คุณค่าแห่งพระคุณที่ได้รับ ซึ่งทำให้พวกเขามีกำลังใจในการใช้ชีวิตและปฏิบัติธรรม การทำงานหนักและความทุ่มเทไม่เพียงเกิดจากความเคารพเท่านั้น แต่ยังมาจากความกตัญญูและการตระหนักถึงพระคุณของผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือให้พวกเขามีวันนี้

หัวข้อประเด็น

-ความกตัญญู
-การทำงานในธุดงคสถาน
-ครูบาอาจารย์
-แรงบันดาลใจจากอดีต
-ความอดทนในการปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

M ๑๑๖ แต่... นั ก ส ร้ า ง บ า ร มี ๑ ข้างหน้า ยังงั้นต้นทำมาได้ขนาดนี้ มาครั้งที่ ๒ นี้เจอ งานช้างสร้างธุดงคสถาน ๒,๐๐๐ ไร่ รู้เลยว่างวดนี้ เสี่ยงตาย แต่หลวงพ่อก็ตัดสินตัดใจทำ คราวนี้ไม่ได้ทำ เพราะความเคารพครูบาอาจารย์อย่างเดียว แต่ทำด้วย อำนาจแห่งความกตัญญูรู้คุณท่าน นึกถึงพระคุณของท่าน ที่เหนื่อยยากนิ้วเราให้พ้นจากนรก ปั้นเราขึ้นมาจนกระทั่ง เราได้บวชเป็นพระอยู่ทุกวันนี้ ตามธรรมดาคนเรา ถ้าจะอาศัยความเคารพเพียง อย่างเดียว เมื่อต้องทำงานหนักมากขึ้นๆ เพดานความ อดทนแม้จะยกสูงขึ้นไปได้ แต่มันก็จะต้องต้นเมื่อถึงระดับ หนึ่ง จากนั้นทำอย่างไรๆ ก็เร่งไม่ขึ้น คุณยายอาจารย์ท่านรู้วาระจิต รู้ว่าลูกศิษย์คนนี้ ของท่านชักไม่ไหว ชกล้าจะหมดความอดทนเสียแล้ว ท่าน รีบเตือนเลย เตือนให้เราเกิดความกตัญญูกตเวทีขึ้นมา แต่ท่านไม่พูดตรงๆ ท่านใช้วิธีพูดอ้อมๆ เอาเรื่องเก่าๆ ครั้งหลวงพ่อเข้าวัดมาพบท่านใหม่ๆ มาเล่าทวนให้ฟัง ชมว่าหลวงพ่อเองแสนจะดี ตั้งใจแก้ไขตนเองสุดฤทธิ์ อยู่ในโอวาทน่ารักมาก ฟังแล้ว ก็ชื่นใจ มีกำลังใจ พอได้ จังหวะท่านก็พูดเลยว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More