ข้อความต้นฉบับในหน้า
รวมพระธรรมเทศนา ๓
- พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธ ม ม ชโย)
12
บัณฑิต คือผู้มีใจผ่องใสเป็นปกติ และดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา เป็น
ผู้ฉลาดในอุบายแห่งความเสื่อมและความเจริญ มีความทรงจำดี เนื่องจากมี
ใจใส ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้จึงบริสุทธิ์ เมื่อจิตบริสุทธิ์ ดวง
จำก็บริสุทธิ์ จึงมีความทรงจำแม่นยำไม่ผิดพลาด
เมื่อทรงจำได้มาก ถึงเวลาจะใช้งานย่อมสามารถนำออกมาใช้งานได้
คล่องแคล่ว มีปัญญาแตกฉาน รอบรู้ในทุกๆ ด้าน รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว
อะไรถูกอะไรผิด อะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาป มีวินิจฉัยที่ถูกต้องร่องรอยตาม
ความเป็นจริง มองเห็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างแจ่มแจ้ง
นักปราชญ์ราชบัณฑิตในสมัยก่อน เช่น พระบรมโพธิสัตว์ท่านสอน
ตนเองได้ว่า อะไรเป็นสาระหรือไม่เป็นสาระ จึงรู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ถูก
ต้องว่า ต้องสร้างบารมีไปจนกว่าบารมีจะเต็มเปี่ยม ได้บรรลุเป้าหมายสูงสุด
ของชีวิต คือพระนิพพาน
ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะกิเลส ไม่ได้บรรลุกายธรรมอรหัต เป็น
อันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมอรหัต ก็ยังประมาทไม่ได้ อย่างน้อยจะต้องยึด
เอาประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในอนาคตไว้ก่อน
ประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ถึงพร้อม
ด้วยความหมั่น ตั้งแต่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน นำวิชาความรู้นั้นมาประกอบอาชีพ
สุจริต ขยันขัน แข็งทำงาน ไม่เกียจคร้าน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
เมื่อได้ทรัพย์มาแล้วก็รู้จักเก็บรักษา ถึงพร้อมด้วยการรักษา ไม่ใช้จ่าย
สุรุ่ยสุร่าย แต่ใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตนเองและส่วนรวม
การที่จะให้ชีวิตสมบูรณ์ได้นั้น ต้องมีต้นแบบ ต้องรู้จักคบคนดี มี
นักปราชญ์ราชบัณฑิตเป็นกัลยาณมิตร เพื่อที่จะดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง พบ
กับชีวิตอันประเสริฐ ชีวิตจะได้ดำเนินอยู่บนหนทางสายกลาง
คือ เลี้ยงชีวิตได้เหมาะสม มีความเป็นอยู่อย่างพอดี