พระธรรมเทศนาเกี่ยวกับความสุขที่แท้จริง รวมพระธรรมเทศนา 3 หน้า 46
หน้าที่ 46 / 71

สรุปเนื้อหา

มนุษย์ทุกคนแสวงหาความสุข แต่ความสุขนั้นเป็นชั่วคราว สิ่งที่แท้จริงคือความสุขที่เกิดจากการเข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน เป็นความสุขที่แท้จริง ควบคู่ไปกับความบริสุทธิ์และปราศจากตัณหา สำหรับการเข้าถึงความสุขนี้ สามารถทำได้โดยการทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชากัปปินะที่แสวงหาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการค้นหาความสุขที่แท้จริงในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ความสุขที่แท้จริง
-การเข้าถึงพระรัตนตรัย
-วิธีการทำใจนิ่ง
-เรื่องราวพระราชากัปปินะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รวมพระธรรมเทศนา ด - พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธ ม ม ชโย) 46 มนุษย์ทุกคนในโลก ล้วนแสวงหาความสุขด้วยกันทั้งสิ้น บ้างก็แสวงหา จากการดื่ม จากการกิน จากการเที่ยว หรือจากการได้รับของที่ถูกใจ แต่ ความสุขเหล่านั้นเป็นความสุขชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เมื่อได้รับแล้วก็ต้องแสวง หากันใหม่อยู่ร่ำไป ถ้าจะเรียกให้ถูก เราต้องเรียกว่าเป็นความเพลินมากกว่า แล้วอะไร คือ ความสุขที่แท้จริง อยู่ที่ไหน มีลักษณะอย่างไร ความสุขที่แท้จริง ต้องเป็นความสุขที่เป็นอมตะ เป็นความสุขที่ เข้าถึงได้ สัมผัสได้ นั่นคือความสุขที่เกิดจาก การเข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน เป็นสุขล้วนๆ ที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความสุขที่คู่กับความบริสุทธิ์ จะเข้าถึงความสุขนี้ได้ ด้วยวิธีการ ทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายเท่านั้น เหมือนอย่าง “พระมหากัปปินะ” ที่มี ความสุขภายใน ท่านมักจะอุทานอยู่เสมอๆ ว่า “สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ” เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยพุทธกาล มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนาม ว่า “มหากัปปินะ” ทุกๆ เช้า พระองค์จะส่งทหารออกไปสืบข่าวว่า ขณะนี้มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บังเกิดขึ้นแล้วหรือยัง ทรงทำเช่นนี้อยู่เป็น เวลานาน ก็ยังไม่ทราบข่าวนี้แต่อย่างใด วันหนึ่ง ขณะที่พระองค์เสด็จประพาสอุทยาน พร้อมกับมหาอำมาตย์หนึ่ง พันคน ได้เห็นพ่อค้า ๕๐๐ คน เดินทางผ่านมา จึงตรัสถามว่า “ท่านทั้งหลาย เดินทางมาจากที่ไหนล่ะ?” พ่อค้ากราบทูลว่า “ข้าพระองค์มาจากเมืองสาวัตถี ซึ่งอยู่ไกลจาก เมืองนี้ ๑๒๐ โยชน์ พระเจ้าข้า” พระองค์ตรัสต่อว่า “ในบ้านเมืองของท่าน มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ดีหรือ พระราชาของพวกท่านตั้งอยู่ในศีลในธรรมดีหรือ?” “บ้านเมืองของข้าพระองค์สมบูรณ์ทุกอย่าง ทั้งพระราชาก็ทรงตั้งอยู่ ในทศพิธราชธรรมดี พระเจ้าข้า”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More