บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ ๒ อาขยาต และ กิตก์ บาลีไวยกรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ 2 อาขยาต และ กิตก์ หน้า 41
หน้าที่ 41 / 65

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้เกี่ยวกับการวิเคราะห์รูปวาทะในบาลี โดยแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ กัตตุวาจก, เหตุกัตตุวาจก และกัมมวาจก ซึ่งมีความสำคัญในภาษา มคธ และการแต่งหนังสือในภาษาไวยากรณ์ การใช้ศัพท์ต่าง ๆ เช่น ฐาน, อาสน์ และ สยน์ มีความสำคัญในการทำความเข้าใจถ้อยคำให้ชัดเจนและแม่นยำ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและพัฒนาทักษะในการเขียน.

หัวข้อประเด็น

-บาลีไวยากรณ์
-วจีวิภาค
-การวิเคราะห์รูปวาทะ
-ความสำคัญของศัพท์
-การศึกษาในภาษา มคธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๑ - บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ ๒ อาขยาต และ กิตก์ - หน้าที่ 190 ปภสฺสโร แดนสร้านออกแห่งรัศมี กายเทวดาจำพวกหนึ่ง, ปภโว แดนเกิดก่อน มีน้ำตกซึ่งเป็นแดนเกิดของแม่น้ำเป็นต้น, ภีโม แดน กลัว ยักษ์ ชื่อว่าอปาทานสาธนะ ๆ แปลว่า "เป็นแดน--" [อธิกณณสาธนะ] ผู้ทำ ๆ ในที่ใด ศัพท์ที่เป็นชื่อของที่นั้น เป็นต้นว่า ฐาน ที่ตั้ง, ที่ยืน, อาสน์ ที่นั่ง, สยน์ ที่นอน, ชื่อว่าอธิกรณสาธนะ ๆ ที่เป็น กัตตุรูป แปลว่า "เป็นที่--" ที่เป็นกัมมรูป แปลว่า "เป็นที่อันเขา." ဆ (๑๓๓) รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะ จัดเป็น ๓ ตามวาจกทั้ง ๓ ที่ กล่าวแล้วในอาขยาต (๑๑๕) นั้น, รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็น กัตตุวาจกก็ดี, เป็นเหตุกัตตุวาจกก็ดี, สาธนะนั้นเป็นกัตตุรูป, รูป วิเคราะห์แห่งสาธนะใดเป็นกัมมวาจก, สาธนะนั้นเป็นกัมมรูป, รูป วิเคราะห์แห่งสาธนะใด เป็นภาวาจก, สาธนะนั้นเป็นภาวรูป, สาธนะทั้ง ๒ นี้ เป็นสิ่งสำคัญในคำพูดและแต่งหนังสือในภาษา มคธอย่างหนึ่ง, แต่คำแปลเป็นภาษาสยามนั้นไม่สำคัญนัก เพราะ เป็นแต่เครื่องหมายให้รู้สาธนะเท่านั้น ถึงจะบัญญัติอย่างอื่นก็ได้, แต่ ถึงกระนั้น เมื่อนิยมรู้กันมาก ๆ แล้ว ใช้ผิด ๆ ไป, ก็เป็นเหตุที่จะ ให้เขาแย้มสรวล, ให้กุลบุตรศึกษาสังเกตเสียให้เข้าใจแม่นยำ, เมื่อ เป็นเช่นนี้ จักได้เป็นผู้ฉลาดในถ้อยคำและในการแต่งหนังสือ ๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More