การสร้างสังคมที่มีคุณธรรมและความสุข DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 16
หน้าที่ 16 / 128

สรุปเนื้อหา

การสร้างสังคมที่มีความสุขเริ่มจากการอบรมบุตรหลานให้รู้จักบุญคุณและโทษ ด้วยการช่วยเหลือและดูแลจากผู้ปกครองและครู รวมถึงการบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนปฏิบัติได้จริง เศรษฐกิจของประเทศจะมั่นคงเมื่อทุกคนในสังคมช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างคนดีในสังคม การเรียนรู้เรื่องคุณธรรมและจริยธรรมควรต้องถูกสอดแทรกในทุกระดับการศึกษา และยังต้องมีการร่วมมือจากพระภิกษุในการส่งเสริมการศึกษาของพระพุทธศาสนา ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-การอบรมบุตรหลาน
-บทบาทของครู
-ความสำคัญของการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา
-การบูรณาการหลักสูตรการศึกษา
-การทำงานร่วมกันในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข บิดา มารดาควรชี้แจงให้บุตรหลานรู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ ประโยชน์ ให้ความรักความเมตตา ช่วยเหลือเกื้อกูล ดูแลความประพฤติของ บุตรหลาน เสริมสร้างความ เป็นคนดีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรมในชีวิตประจำวันทั้งในบ้านและนอกบ้าน ควรให้บ้านมีส่วนช่วยและมีส่วนสัมพันธ์กับโรงเรียน รวมทั้งวัดควรเป็นศูนย์กลางและจัดการ ศึกษาร่วมกับโรงเรียนด้วย ทุกกลุ่มในสังคมจำเป็นต้องทำงานร่วมกันในทุกๆ ด้าน เป็นที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกัน จะเป็นพลังสร้างความมั่นคงให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการอบรม สั่งสอน แนะนำความรู้และการประพฤติที่ดีแก่นักเรียน เนื่องจากพฤติกรรมของนักเรียนที่มีปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพจากทางบ้าน เช่น พ่อแม่ไม่เป็นแบบ อย่างที่ดีแก่ลูก หรือ การละเลยการสั่งสอนบุตรหลาน ประเด็นที่ 2 ท่านเห็นด้วยกับการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน โดยบูรณาการเนื้อหา สาระพุทธธรรมในทุกกลุ่มวิชาหรือไม่ และควรดำเนินการอย่างไร ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เห็นด้วยกับการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนโดยบูรณาการ เนื้อหาสาระพุทธธรรมในทุกกลุ่ม วิชาโดยให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ดังนี้ หลักสูตรต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริงมากกว่าการเรียนรู้จากทฤษฎี โดยครูต้องสอน คุณธรรม จริยธรรมสอดแทรก ในกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกกลุ่มวิชา สอนให้สอดคล้องกันระหว่าง พุทธธรรมและวิชาการทั่วไป ให้ผู้เรียนรู้จักผิดชอบ ชั่ว-ดี ครูจะต้องบูรณาการเนื้อหาสาระการเรียนรู้ คุณ ธรรม จริยธรรม มาประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณ ธรรม ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยระดมความคิดเห็นจากกลุ่มนักวิชาการ ต่างๆ เข้าร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วย ต้องให้นักเรียนทุกคนสอบหรือมีพื้นฐานทางพระพุทธศาสนาก่อนนำมาบูรณาการด้วยกิจกรรมต่างๆ ครูต้องนำเนื้อหาข้อธรรมะมาสอดแทรกและมีการวัดผลประเมินผลผู้เรียนอย่างจริงจัง โดยครูให้คะแนน เพื่อเป็นการวัดพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน ควรให้พระภิกษุเข้ามามีส่วนร่วมในการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้นำ หลักธรรมที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง วิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรมควรจัดสอนแบบเดิมก่อนยุคการปฏิรูปการศึกษาแต่ควรปรับปรุง เนื้อหาบ้างเล็กน้อย บำาบัดจิตใจ โรงเรียนและวัดควรช่วยกันพัฒนาเฉพาะด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม สารเสพติด และการ บ ท ที่ 1 อ ง ค์ กร กัลยาณมิตร DOU7
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More