การบำเพ็ญบารมีเพื่อเข้าถึงธรรมกาย DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 122
หน้าที่ 122 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นถึงเครื่องล่อหลอกที่ทำให้มนุษย์ติดอยู่ในสังสารวัฏและวิธีการแก้ไขด้วยการบำเพ็ญบารมี ทั้ง 10 ประการ ที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงศูนย์กลางกายและปรับปรุงตนเองได้อย่างมีเหตุผล โดยนำเนื้อหาจากพระธรรมเทศนาของพระราชภาวนาวิสุทธิ์และพระภาวนาวิริยคุณ รวมถึงการสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับบารมีในวัดพระธรรมกาย

หัวข้อประเด็น

-เครื่องล่อหลอกมนุษย์
-การบำเพ็ญบารมี
-วิธีแก้ไข
-ธรรมกาย
-ศูนย์กลางกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ซึ่งเมื่อใจไม่ติดเครื่องล่อหลอกภายนอก ใจก็จะกลับเข้าภายใน เมื่อวางใจเข้าสู่ศูนย์กลางกาย ฐานที่เจ็ด ก็จะเข้าถึงธรรมกาย 2) เครื่องล่อหลอกของมนุษย์มีอะไรบ้าง และแก้ไขโดยการบำเพ็ญบารมีอย่างไร ในหัวข้อนี้ ท่านได้แสดงถึงเครื่องล่อหลอกของมนุษย์ ที่ทำให้ติดอยู่ในสังสารวัฏไม่สามารถเข้าสู่ ศูนย์กลางกายได้ กับการแก้ไขโดยการบำเพ็ญบารมี ซึ่งเป็นการจับคู่กันระหว่างเครื่องล่อหลอกภายนอก กับการแก้ไขด้วยบารมีทั้ง 10 ประการ กล่าวคือ 1. ทรัพย์สมบัติต่างๆ ที่เกินความจำเป็น ทำให้ใจเกิดความเป็นห่วง วิธีแก้คือ บำเพ็ญทานบารมี หมั่นทำทานโดยการเอาสมบัติส่วนที่เกินจำเป็นมาทำ 2. ความมักง่ายของตนเอง ทำให้สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น วิธีแก้คือ บำเพ็ญศีลบารมี ให้เกิดความระมัดระวังกาย วาจา ใจ 3. เรื่องของกาม ความรักสวยรักงาม ทำให้ใจไม่เข้าศูนย์กลางกาย วิธีแก้คือ บำเพ็ญเนกขัมมบารมี ออกบวช หรือ หมั่นรักษาศีล 8 4. การขาดโยนิโสมนสิการ จับแง่คิด มุมมองไม่ถูก วิธีแก้คือ บำเพ็ญปัญญาบารมี 5. ความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าปรับปรุงตนเอง วิธีแก้คือ บำเพ็ญวิริยบารมี คือ กล้าที่ จะปรับปรุงตนเองและสิ่งรอบข้างอย่างมีเหตุผล 6. ความรู้สึกหงุดหงิดเมื่อเกิดการกระทบกระทั่งกับคนอื่น ทำให้ใจหลุดออกจากศูนย์กลางกาย วิธีแก้คือ บำเพ็ญขันติบารมี 7. ความกลัวเสียหน้าไม่ยอมรับสิ่งที่ตนกระทำผิดพลาด ทำให้ต้องโกหก วิธีแก้คือ บำเพ็ญสัจจบารมี พูดอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรพูดอย่างนั้น 8. ความย่อท้อในการทำสิ่งต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายเมื่อพบกับอุปสรรค วิธีแก้คือ บำเพ็ญ อธิษฐานบารมี ซึ่งทำให้เป็นผู้ไร้กังวล ทำให้เกิดฤทธิ์ทางใจ 9. การผูกใจเจ็บ ไม่รู้จักการให้อภัย วิธีแก้คือ บำเพ็ญเมตตาบารมี 10. ความหวั่นไหวไปในโลกธรรม 8 วิธีแก้คือ บำเพ็ญอุเบกขาบารมี จากพระธรรมเทศนาของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ และพระภาวนาวิริยคุณ ดังกล่าวข้างต้น คุณสรกานต์ ศรีตองอ่อน ได้สรุปในเบื้องต้นว่า บารมีตามความเข้าใจของวัดพระธรรมกายนั้น จำแนกแบ่งเป็น 2 นัยหลัก คือ นัยที่เป็นเหตุ และนัยที่เป็นผล ดังนี้ บ ท ที่ 8 ก า ร ส ร้ า ง บ า ร มี ข อ ง วัด พระ ธ ร ร ม ก า ย DOU 113
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More