ผลกระทบของโครงการปลูกฝังศีลธรรมผ่านการสอบธรรมะ DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 78
หน้าที่ 78 / 128

สรุปเนื้อหา

โครงการ “ทางก้าวหน้า” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 กันยายน 2546 ณ มหานครนิวยอร์ค มีเป้าหมายในการส่งเสริมศีลธรรมให้แก่เยาวชน โดยการศึกษาพบว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการนั้นมีพฤติกรรมศีลธรรมที่ดีกว่านักเรียนที่ไม่เข้าร่วมอย่างชัดเจน การศึกษานี้ทำการสำรวจจากนักเรียนและครูรวม 2,893 คนและพบว่าผลกระทบของโครงการต่อพฤติกรรมศีลธรรมมุ่งเป้าไปที่หลายด้าน เช่น ระดับนักเรียนและควรได้รับการปรับปรุงในระดับโรงเรียน รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมปัญหาของนักเรียน โดยช่วยให้เกิดการเคารพครู ส่งการบ้านตรงเวลา และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

หัวข้อประเด็น

-โครงการปลูกฝังศีลธรรม
-พฤติกรรมศีลธรรมของนักเรียน
-ผลกระทบของการศึกษา
-การแก้ไขปัญหานักเรียน
-การมีส่วนร่วมของครู

ข้อความต้นฉบับในหน้า

Dignity : Fulfilling the Promise of the United Nations) ระหว่างวันที่ 8-10 กันยายน พ.ศ. 2546 ณ มหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวาระนี้ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้รับเชิญให้เข้า ร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน ซึ่งโครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ถูกบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม Midday Workshop ในหัวข้อ “การบรรลุวุฒิภาวะของเยาวชนผ่านมิติทางจิตวิญญาณแห่งสันติภาพ” (The Psychological Aspect of Peace from Youth through Maturity) 5.9 ผล ผลดีที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการฯ สำหรับผลดีที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการฯ “ทางก้าวหน้า” นั้น ได้มีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์อันได้แก่ ผศ.ดร.สมสุดา ผู้พัฒน์ ผศ.ดร.นาถ พันธุมนาวิน และอาจารย์สุรพันธ์ เพชราภา ได้ ทำการวิจัยถึง “ผลกระทบของโครงการปลูกฝังศีลธรรมด้วยการสอบปัญหาธรรม ขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดย ได้คัดเลือกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้มาเป็นเวลา 7 ปี และส่งนักเรียนเข้าร่วมสอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า อย่างน้อย 3 ครั้ง จากโรงเรียนทั่วประเทศที่คัดเลือกได้ตามคุณสมบัติในเบื้องต้นได้จำนวน 107 โรงเรียน โดยสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มที่ 1 ครูผู้ประสานงานโครงการจำนวน 71 คน กลุ่มที่ 2 เพื่อนครูผู้ประสานงาน จำนวน 184 คน กลุ่มที่ 3 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 2,893 คน กลุ่มที่ 4 นักเรียนที่ไม่เข้าร่วม โครงการจำนวน 1,248 คน โดยผู้วิจัยได้จำแนกผลกระทบของโครงการออกเป็น 3 ด้าน ซึ่งจะขอยกมา เฉพาะในประเด็นที่ตรงกันหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยได้ทำในหัวข้อนี้เท่านั้นคือ 1. ระดับนักเรียน : พฤติกรรมศีลธรรม 2. ระดับครูผู้ประสานงาน : พฤติกรรมศีลธรรม 3. ระดับโรงเรียน : การแก้ไขพฤติกรรมปัญหาของนักเรียนทั้งโรงเรียน 1. ผลกระทบของโครงการในระดับนักเรียน พฤติกรรมศีลธรรม ผลกระทบของโครงการปลูกฝังศีลธรรมด้วยการสอบปัญหาธรรมะ ส่งผลต่อพฤติกรรม ศีลธรรมของนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง คือ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมศีลธรรมของนักเรียนที่เข้าร่วม และไม่เข้าร่วมโครงการ ปรากฏว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมศีลธรรมสูงกว่านักเรียนที่ ไม่เข้าร่วมโครงการอย่างเห็นได้เด่นชัด กล่าวคือ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ มากกว่านักเรียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการ คือ ทำความเคารพด้วยการไหว้คุณครูทุกครั้งที่พบ ส่งการบ้าน อย่างสม่ำเสมอ เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ไม่ถือวิสาสะหยิบของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ใช้เวลาว่างให้ บทที่ 5 โครงการเชิงกัลยาณมิตร... DOU 6
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More