การตั้งชมรมในสถาบันการศึกษา DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร หน้า 42
หน้าที่ 42 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการตั้งชมรมในสถาบันการศึกษา หลังจากที่สภานิสิตนักศึกษาให้ความเห็นชอบ ชมรมจะต้องสังกัดฝ่ายที่กำหนดและมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยนิสิตจากหลายคณะ ซึ่งชมรมสามารถถูกยุบเลิกได้ตามข้อบังคับที่กำหนด รวมถึงตัวอย่างวัตถุประสงค์ของชมรมพุทธศาสตร์และประเพณีที่เผยแผ่ธรรมะให้กับนักศึกษาและบุคลากรในสถาบัน

หัวข้อประเด็น

-การตั้งชมรม
-ขั้นตอนการตั้งชมรม
-ข้อกำหนดในการจัดตั้งชมรม
-การจัดการคณะกรรมการชมรม
-การยุบเลิกชมรม
-ตัวอย่างชมรมพุทธศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อสภานิสิตนักศึกษาให้ความเห็นชอบแล้ว สภานิสิตนักศึกษาจะนำเรื่องเสนอต่อรองอธิการบดี ประกาศตั้งชมรมนั้นๆ ต่อไป 2. ชมรมที่จัดตั้งขึ้นตามข้อ 1 จะต้องสังกัดอยู่ในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดังนี้ 1) ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ 2) ฝ่ายส่งเสริมบุคลิกภาพและกีฬา 3) ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมและศิลปวัฒนธรรม 4) ฝ่ายบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และกิจกรรมเพื่อสังคม 3. ในแต่ละชมรมให้มีคณะกรรมการชมรมไม่น้อยกว่า 6 คน คณะกรรมการชมรมประกอบด้วย 1) ประธานชมรม 2) รองประธานชมรม 3) เลขานุการ 4) เหรัญญิก 5) สวัสดิการ 6) กรรมการตำแหน่งอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการชมรมเห็นสมควร ซึ่งจะต้องเป็นนิสิตจาก คณะต่างๆ อย่างน้อย 3 คณะ 4. ชมรมอาจเลิกหรือถูกยุบเลิกได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1) เป็นไปตามข้อบังคับข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 2) ไม่มีกิจกรรมหรือมีกิจกรรมที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของชมรม 3) องค์การนิสิตนำเสนอให้สภานิสิตพิจารณาลงมติยุบเลิกด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของ สมาชิกทั้งหมด แล้วเสนอให้รองอธิการบดีประกาศยุบเลิก การจัดตั้งชมรม ในการตั้งชมรมทางพระพุทธศาสนานั้น ในที่นี้ขอยกตัวอย่างวัตถุประสงค์การตั้งชมรมของชมรม พุทธศาสตร์และประเพณี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ดังนี้ วัตถุประสงค์ของชมรม 1. เพื่อเผยแผ่ธรรมะแห่งพระพุทธศาสนาไปสู่นักศึกษา ข้าราชการ คณาจารย์ของสถาบันฯ ตลอดจนผู้สนใจโดยทั่วไป บ ท ที่ 3 ส ถ า บั น ก า ร ศึ ก ษ า กัลยาณมิตร DOU 33
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More